2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
46 - ตาแหน่ง และหน่วยงาน ส่วนที่ 2 ประเด็นคาถาม ประกอบด้วย 7 คาถาม ดังนี้ 1. ท่านคิดว่า การเกษียณอายุหรืออายุครบ60 ปีแล้ว อยากประกอบอาชีพอิสระต่อ หรือไม่ อย่างไร 2. ท่านคิดว่า การกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อประกอบอาชีพควรมีบุคคลค้าประกัน หรือไม่ แต่ถ้าไม่มีผู้ค้าประกันจะส่งผลต่อการกู้ยืมกองทุนหรือไม่อย่างไร 3. ท่านคิดว่า การส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุนภายในระยะเวลา 3 ปี เป็นเวลาเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด 4. ท่านคิดว่า ระยะเวลาเท่าไหร่ที่เหมาะสมกับการคืนเงินกู้ยืมให้กับกองทุนผู้สูงอายุ 5. ท่านคิดว่า มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรกับการที่กู้ยืมเงินไปแล้ว ผิดนัดไม่ชาระหนี้ 6. หากมีการผิดนัดไม่ชาระเงินคืนภายในกาหนด ท่านคิดว่าควรมีการคิดดอกเบี้ยหรือไม่ 7.ท่านคิดว่าในปัจจุบันการคืนเงินกู้ยืมกองทุนเพื่อการประกอบอาชีพ ที่จัดให้ผ่านทาง แอพพลิเคชั่นสาหรับผู้สูงอายุมีความสะดวกหรือไม่ และควรมีวิธีคืนเงินกู้อย่างไรที่ให้ความสะดวกกับ ผู้สูงอายุ ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนาอื่น ๆ ของผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา กฎหมายกองทุนผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง 3.3. เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์โดยหาค่าความเที่ยงตรงในเนื้อหา (Content Validity) ดาเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์ทั้งทางด้านภาษา และ เนื้อหาสาระ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กาหนดไว้ (พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ, 2540) และนามาวิเคราะห์โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence: IOC) เพื่อพิจารณาคุณภาพของข้อคาถาม ซึ่งกาหนดให้ข้อคาถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่า ระหว่าง 0.6 ถึง 1.00 ซึ่งหมายถึงข้อคาถามจากแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้มีคุณภาพที่ เหมาะสม มีความถูกต้องด้านโครงสร้างเนื้อหา ภาษา และสามารถวัดในสิ่งที่จะวัดได้สอดคล้องตาม วัตถุประสงค์ของการวิจัย แบบสัมภาษณ์เป็นแบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงในเนื้อหา (Content Validity) ยื่น ต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้วตามแนวทาง หลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline แ ล ะ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCP ตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2023_199 REC No.0531 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไป เก็บข้อมูลเพื่อดาเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทาการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตาม ประเด็นข้อคาถามที่กาหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3