2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
49 ต่อเนื่อง และทฤษฎีบทบาท ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวได้ให้ความสาคัญกับผู้สูงอายุ เกี่ยวกับทากิจกรรมที่ ตนเองชอบหรือทางานที่ตนเองถนัดอย่างต่อเนื่อง และยังคงดาเนินชีวิตไปตามบทบาทในสังคมที่ ผู้สูงอายุเคยทามาโดยตลอด และมีความประสงค์ที่จะทาเช่นนั้นต่อไป ทาให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ที่ ห่างจากสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมต่อไปได้อย่างมีความสุข และให้ ปรับตัวเข้ากับสังคมผู้สูงอายุต่อไปได้ ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีเหล่านี้ล้วนแต่สนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่มี ความสามารถได้ทางานต่อไป เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่รู้สึกลดคุณค่าในตนเอง อย่างไรก็ตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ไม่สามารถเข้าถึงการ กู้ยืมเงินกองทุนของผู้สูงอายุ เนื่องจากมีเงื่อนไขต้องมีบุคคลที่น่าเชื่อถือเข้ามาค้าประกันการกู้ยืม เงินกองทุนดังกล่าว พบว่า การกู้ยืมเงินของผู้สูงอายุตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุน ผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุประกาศ พ.ศ. 2549 ในข้อ 3 (4) กาหนดว่า “หากผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ต้องมีคุณสมบัติและมี บุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ผู้อานวยการกาหนดค้าประกัน” ประกอบกับประกาศในข้อกาหนดสานักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ว่าด้วยคุณสมบัติผู้กู้ยืม ผู้ค้า ประกัน และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพประเภทรายบุคคลจากกองทุน ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2556 ข้อ 5 กาหนดเงื่อนไขการกู้ยืมเงินจากกองทุนว่าต้องเป็นบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 59 ปี เป็นผู้มีรายได้หรืองานประจา มีภูมิลาเนาตามทะเบียนราษฎร์อยู่จังหวัดเดียวกันกับผู้กู้ยืม ไม่อยู่ ระหว่างเป็นผู้กู้ยืมหรือเป็นผู้ค้าให้กับบุคคลอื่นที่ขอกู้ยืม ซึ่งกาหนดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคในการ ดาเนินกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ ทาให้ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุได้ แสดงให้เห็นว่า การที่ผู้สูงอายุจะหาบุคคลใดเข้ามาค้าประกันนั้นย่อมเป็นการยาก เพราะอาจหา บุคคลมาค้าประกันไม่ได้ หรือหาบุคคลมาค้าประกันได้ แต่บุคคลที่จะมาค้าประกันอาจไม่มีคุณสมบัติ เข้าเงื่อนไขตามที่ข้อกาหนดสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชนฯ กาหนดไว้ การที่ ประกาศฉบับนี้กาหนดคุณสมบัติของผู้ค้าประกันการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านเงินทุนประกอบอาชีพ ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนผู้สูงอายุ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 13 กาหนดให้จัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุขึ้น เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง ส่งเสริม และ การสนับสนุนผู้สูงอายุ ตามวัตถุประสงค์ของมาตรา 11 (3) การประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่ เหมาะสม เป็นไปตามหลักรัฐสวัสดิการ ที่รัฐมีหน้าที่จัดหาสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับประชาชนทุกคน อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ให้มีศักยภาพความมั่นคงและ มีชีวิตที่ดี สอดคล้องกับหลักการสวัสดิการสังคม ที่กาหนดให้มีการจัดสวัสดิการตามความจาเป็นใน การประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีการพึ่งพาตนเองได้ แต่การที่ประกาศคณะกรรมการบริหาร กองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ข้อ 3 (4) กาหนดว่า “ผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพต้องมีคุณสมบัติและมีบุคคลที่ น่าเชื่อถือตามที่ผู้อานวยการกาหนดค้าประกัน” เป็นการกาหนดเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินโดยพิจารณา ถึงคุณสมบัติผู้กู้ยืมและคุณสมบัติของผู้ค้าประกันเป็นสาคัญนั้น เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11(3) ที่กาหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบ อาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3