2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

50 มาตรา 71 วรรคสาม ที่กาหนดว่า รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่กาหนดยุทธศาสตร์ในด้านการสร้างโอกาสและความ เสมอภาคทางสังคม และด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ เห็นได้ว่ามีการส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุสามารถทางานต่อไปได้ และได้รับการฝึกฝนทักษะในการประกอบอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ที่ ต้องการทางานหารายได้ นอกเหนือจากรอรับเงินสวัสดิการที่รัฐมอบให้ อย่างเช่น เบี้ยยังชีพ หรือบัตร สวัสดิการแห่งรัฐ จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ให้ความสาคัญกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่มี ความสามารถและต้องการฝึกอาชีพหรือประกอบอาชีพต่อไป เพื่อให้ผู้สูงอายุให้สามารถดารงชีพอยู่ได้ อย่างมีคุณค่าโดยมุ่งเน้นให้สามารถพึ่งตนเองได้เป็นหลักการที่สาคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 (3) กาหนดให้มีการส่งเสริมและ สนับสนุนการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพ ประกอบกับ ข้อกาหนดสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ว่าด้วย คุณสมบัติผู้กู้ยืม ผู้ค้าประกัน และ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ประเภทรายบุคคลจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2556 ข้อ 4 ที่กาหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อเป็นเงินทุนประกอบอาชีพ ประเภทรายบุคคลไว้ 7 ประการ ประกอบด้วย 1) ผู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2) มีความจาเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมประกอบอาชีพ 3) มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน 4) มีสภาพร่างกายแข็งแรงสามารถประกอบอาชีพได้ 5) มีปัจจัยในการสนับสนุนการประกอบอาชีพ 6) มีสถานที่ในการประกอบอาชีพของผู้กู้ยืมอยู่ภายในจังหวัดเดียวกันกับที่ผู้กู้ยืมเงินได้ยื่นคาร้อง ขอกู้ยืมไว้ 7) ไม่เป็นผู้ค้างชาระเงินกองทุนผู้สูงอายุ จากคุณสมบัติทั้ง 7 ประการดังกล่าวข้างต้นของสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพฯ ได้จัดให้มี เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลถึงคุณสมบัติของผู้กู้ เพื่อตรวจสอบและให้คณะกรรมการ บริหารกองทุนผู้สูงอายุพิจารณาอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุน และข้อ 4 (3) กาหนดด้านความสามารถใน การประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน ย่อมหมายความว่า เมื่อผู้สูงอายุได้รับการฝึกอาชีพที่ เหมาะสมและมีความสามารถในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขอรับทุนสนับสนุนเงินกู้ยืมจาก กองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นเงื่อนไขประเภทหนึ่งในการขอกู้ยืมเงินกองทุน จึงเห็นควรว่า ไ ม่ จาเป็นต้องมีบุคคลผู้ค้าประกันการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุแต่อย่างใด เนื่องจากได้มีการตรวจสอบ คุณสมบัติทั้ง 7 ประการของผู้กู้ยืมเงิน ในข้อ 4 ไว้ใน เบื้องต้นไว้แล้ว อีกทั้งประกาศคณะ กรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจาก กองทุนผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ข้อ 2 (3) การกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุกาหนดไว้เพียงไม่เกิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3