2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
52 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งเสริมผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น ตามพระราชบัญญัติรักษาเสถียรภาพการ จ้างงานผู้สูงอายุ พ.ศ.2555 มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ประสงค์จะทางาน ได้ทางานต่อไปโดยได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมายที่เหมาะสม และได้กาหนดให้มีการฝึกอาชีพ เพื่อฝึกทักษะให้ผู้สูงอายุ รวมถึงการขยายระยะเวลาเกษียณอายุ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับโอกาสการจ้างงานแม้จะถึงวัย เกษียณแล้วก็ตาม อีกทั้งพระราชบัญญัติการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ พ.ศ. 2551 กาหนดให้จะต้อง มีเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ มีกฎหมายการจ้างแรงงาน หลังเกษียณ พ.ศ. 2564 ได้มีการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุฝึกทักษะการประกอบอาชีพ และกาหนดให้ ผู้สูงอายุได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่องภายหลังเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และสามารถพึ่งพา ตนเองได้ สาหรับสหพันธฺสาธารณรัฐเยอรมนี พระราชบัญญัติปรับอายุเกษียณมาตรฐานตามการ พัฒนาด้านประชากรศาสตร์และเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานทางการเงิน พ.ศ. 2550 มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้ ทางานต่อไปโดยเพิ่มระยะเวลาเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทางานและมีรายได้ในการดารงชีวิต ต่อไปได้ ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 ประเทศต่างให้การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุประกอบอาชีพ และส่งเสริมการฝึก ทักษะการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ โดยจุดมุ่งหมายสาคัญ คือต้องการให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพา ตนเองได้ ซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศไทยนั้นการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพยังต้องมีบุคคลเข้ามาค้า ประกันส่งผลให้ไม่เป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้อายุอย่างแท้จริง ผลการสัมภาษณ์ ประเด็นการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อประกอบอาชีพควรมีบุคคลค้าประกัน หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกองทุนผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันว่า ควรมีบุคคล ผู้ค้าประกัน เนื่องจากเป็นการยากที่จะทวงเงินจากผู้สูงอายุ และหากผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินติดต่อไม่ได้ หรือย้ายที่อยู่ เจ้าหน้าที่ก็จะเรียกชาระหนี้จากบุคคลผู้ค้าประกันแทน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะได้รับ เงินกู้ยืมเงินคืน ซึ่งผู้ค้าประกันส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์จะเป็นบุตรหลานของผู้กู้ยืมเงิน และการมีผู้ค้า ประกันเพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่นักพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ได้แสดงความคิดเห็นว่ามีผู้สูงอายุที่สนใจจะกู้ยืมเงินกองทุน แต่ไม่สามารถกู้ยืมเงินกองทุนได้ เนื่องจาก ติดปัญหาในเรื่องการหาบุคคลมาค้าประกัน และกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าเงินกองทุน กู้ยืมเป็นเงินของรัฐจึงไม่ต้องคืนก็ได้ และการหาบุคคลค้าประกันเป็นการยาก เนื่องจากไม่มีใครอยาก เป็นผู้ค้าประกันให้ ส่วนครอบครัวผู้สูงอายุเห็นว่าการที่จะค้าประกันให้ผู้สูงอายุอาจเป็นการเพิ่มภาระ ให้กับครอบครัวหากผู้สูงอายุไม่ชาระหนี้ ในกรณีผู้สูงอายุได้กู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุไปแล้ว ไม่อาจชาระหนี้ได้ ตามระเบียบ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยการตัดจาหน่ายหนี้สูญของกองทุน ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553 กาหนดให้มีการตัดจาหน่ายหนี้สูญ ซึ่งได้กาหนดลักษณะของหนี้สูญไว้ในระเบียบฯ ฉบับนี้ ดังนี้ (ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติว่าด้วยการตัดจาหน่ายหนี้สูญของกองทุน ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553, 2553) ข้อ 6 หน้าที่ตัดจาหน่ายเป็นหนี้สูญที่ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) หนี้ที่ได้ติดตามทวงถามกับลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กาหนด แล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะชาระหนี้ได้ หรือไม่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้ และการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3