2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

53 ดาเนินการบังคับชาระ หนี้หรือการดาเนินคดีต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ ชาระหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อ กองทุนอีกต่อไป (2) หนี้ที่ลูกหนี้ได้ถึงแก่กรรม พิการ ทุพพลภาพ หรือวิกลจริต หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคน สาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะชาระหนี้หรือตกทอดแก่ทายาทอันจะนามาบังคับชาระหนี้ได้ (3) หนี้ที่เจ้าหน้าที่ได้ดาเนินการฟ้องคดีต่อศาลจนถึงที่สุดแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่ จะยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดได้จนพ้นกาหนดระยะเวลาบังคับคดี (4) หนี้ที่ขาดอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายแล้ว (5) หนี้อื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุเห็นสมควร จากหลักเกณฑ์การตัดจาหน่ายหนี้สูญ ถือได้ว่าเป็นการยอมผ่อนปรนให้มีการตัดหนี้สูญได้ นอกจากนี้ในระเบียบฯ ฉบับนี้ ยังได้กาหนดอานาจในการอนุมัติตัดจาหน่ายหนี้สูญออกจาก บัญชีลูกหนี้ไว้ในข้อ 5 ว่าให้อานาจแก่ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใน การใช้ดุลพินิจในการตัดจาหน่ายหนี้สูญรายละ ไม่เกิน 50,001-100,000 บาท และผู้อานวยการ สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ในการใช้ดุลพินิจใน การตัดจาหน่ายหนี้สูญ รายละไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ การจะตัดจาหน่ายหนี้สูญ ของกองทุน ผู้สูงอายุได้จะต้องมีการดาเนินการติดตามทวงถามหนี้ให้ครบตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดเสียก่อนแล้ว จึง จะนาไปสู่การตัดจาหน่ายหนี้สูญของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ การจะตัดจาหน่ายหนี้สูญได้นั้น จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุก่อน ระเบียบฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ภายหลังจากที่ได้กู้ยืมเงินกองทุน ไปแล้วประสบปัญหาต่าง ๆ จนไม่สามารถชาระหนี้ตามสัญญาได้ ดังนั้น หากผู้สูงอายุกู้ยืมเงินจาก กองทุนไปแล้ว ต่อมาถึงแก่กรรมไม่สามารถชาระหนี้ได้ จึงให้นาระเบียบฉบับนี้มาใช้เพื่อตัดจาหน่าย หนี้สูญต่อไป จากการวิเคราะห์เอกสารและผลการสัมภาษณ์ดังกล่าวข้างต้น เกี่ยวกับการค้าประกันขอกู้ยืม เงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อประกอบอาชีพ ผู้วิจัยเห็นว่า จาเป็นอย่างยิ่งต้องแก้ไขการค้าประกันกู้ยืม เงินกองทุนผู้สูงอายุที่นาไปประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดตั้ง กองทุนและให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุเพื่อเป็นหลักประกันสร้างรายได้ในการดารงชีวิต และพึ่งพาตนเองอย่างมีคุณภาพ ควรให้มีการปรับปรุงแก้ไข ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุน ผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ข้อ 3 (4) ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ข้อ 3 (4) “กรณีผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ต้องมีคุณสมบัติและมีบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ ผู้อานวยการกาหนดค้าประกัน” โดยให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ข้อ 3 (4) “เมื่อผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินกองทุนประกอบอาชีพ ให้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อ เก็บ รวบรวมข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติรวมถึงข้อเท็จจริงของผู้กู้ยืมว่าเป็นผู้มีความสามารถในการประกอบ อาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน ส่วนบุคคลค้าประกันจะมีหรือไม่ ให้เป็นดุลพินิจของพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือหัวหน้ากลุ่มที่ได้รับมอบหมายลงความเห็นในผลการอนุมัติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3