2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

55 ดังนั้นรัฐควรกาหนดระยะเวลาให้ผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินกองทุน สามารถชาระเงินคืนได้ภายในกาหนด 5 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย เช่นเดียวกันกับกองทุนคนพิการ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทางานได้ต่อไปตามที่ ต้องการ สอดคล้องกับทฤษฎีแรงจูงใจผู้สูงอายุของ Maslow ด้านความต้องการเห็นคุณค่า ทั้งคุณค่า ในตนเอง ความสาเร็จ ความภูมิใจที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และด้านความต้องการให้เป็นจริงใน ตนเอง คือการที่ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงศักยภาพความสามารถในการดารงชีวิตประจาวันของตนเองให้ มีศักยภาพสูงสุด อีกทั้งสอดคล้องกับแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จากเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัวที่ผู้สูงอายุจะต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงด้าน เศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การที่ผู้สูงอายุได้ทางานต่อไปนั้น ผู้สูงอายุก็จะไม่ สูญเสียบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เคยมีอยู่ สมาคมเพื่อนฝูง และมีสภาวะทางการเงินที่ดี มีรายได้ใน การดารงชีวิต โดยไม่ต้องรอเงินจากบุตรหลานหรือเบี้ยยังชีพจากรัฐ สอดคล้องตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ให้ความสาคัญกับการสร้างรายได้และ ประกอบอาชีพเพื่อให้มีหลักประกันในการดารงชีวิต หากรัฐขยายระยะเวลาในการคืนเงินกู้ยืมกองทุน ผู้สูงอายุออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย ย่อมเป็นการสร้างโอกาสและหลักประกันให้กับ ผู้สูงอายุ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวัสดิการประเทศญี่ปุ่น ที่ให้กับผู้สูงอายุจะมุ่งเน้นในการขยายระยะเวลาในการเกษียณอายุจาก 60 ปี เป็นอายุ 65 ปี เป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สูงอายุสามารถทางานได้ต่อไป และให้สวัสดิการ ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ พ.ศ.2551 (Act on Social Welfare for the Elderly 2008) ที่มีวัตถุประสงค์จัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุเท่าที่จาเป็น ให้การส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และส่งเสริมสวัสดิการความมั่นคงในการดารงชีวิตของผู้สูงอายุ โดยกาหนดเรื่องเงินอุดหนุนไว้ในมาตรา 24 โดยได้ให้เงินอุดหนุนในด้านต่าง ๆ เป็นมาตรการด้าน สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ เช่น ให้ความช่วยเหลือโครงการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ การสนับสนุนผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถดารงชีวิตประจาวันได้อย่างเป็นอิสระ หรือบริการอื่น ๆ ที่มุ่งส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยให้เป็นหน้าที่ของจังหวัดหรือเทศบาล แสดงให้เห็นว่า ประเทศญี่ปุ่นเน้นในด้านของการให้สวัสดิการสังคมอันเป็นหลักประกันให้กับผู้สูงอายุ ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ มีพระราชบัญญัติกองทุนสารองเลี้ยงชีพกลาง พ.ศ. 2496 (Central Provident Fund Act 1953) มุ่งเน้นส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ และให้ความสาคัญกับ การออมเงิน โดยบังคับสะสมเงินออมในกองทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้นามาใช้ในยามเกษียณ โดย ไม่ต้องเป็นภาระต่อบุตรหลาน และมีการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุฝึกทักษะการประกอบอาชีพ และให้ ได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่องภายหลังเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้มีการตั้งกองทุนสารองเลี้ยงชีพเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ 4 กองทุนหลัก ได้แก่ 1) Central Provident Fund (CPF) เป็นเสาหลักของระบบประกันสังคมของสิงคโปร์ ที่ช่วยให้ชาวสิงคโปร์และ ผู้พานักถาวรในสิงคโปร์จัดสรรเงินเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสาหรับการเกษียณอายุ 2) The CPF Lifelong Income For The Elderly (CPF LIFE) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีเงินออมเพียงพอ ต่อการดารงชีวิต 3) Retirement Sum Scheme (Rss) ให้การจ่ายเงินรายเดือนแก่สมาชิก CPF เพื่อ สนับสนุนมาตรฐานการครองชีพขั้นพื้นฐานในช่วงเกษียณอายุจนกว่าเงินออม RA จะหมดหรือเมื่อคุณ อายุครบ 90 ปี แล้วแต่ว่าอย่างใดถึงก่อน 4) CPF Investment Scheme (CPFIS) เป็นโครงการเงิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3