2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

56 บานาญของสิงคโปร์ที่จ่ายเงินรายเดือนตลอดชีพในช่วงที่ชราภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพื่อเกษียณอายุ สะท้อนให้เห็นว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์เน้นในเรื่องของการบังคับออมเงินในกองทุนต่าง ๆ เพื่อนาไปใช้ ในยามเกษียณอายุ สาหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กาหนด เกี่ยวกับบานาญผู้สูงอายุตามกฎหมายแผนบานาญของบริษัท และแผนบุคคลสาหรับวัยชรา ถึงการ จ่ายเงินบานาญให้แก่ผู้สูงอายุ ทั้งที่เป็นกลุ่มข้าราชการ และผู้สูงอายุอาชีพอื่นๆ สวัสดิการที่ใช้มา บริการสังคมนั้นมาจากภาษี จะนาไปส่งต่อให้กองทุนเพื่อเข้าระบบสวัสดิการ โดยรูปแบบของ สวัสดิการเยอรมนีจะเรียกว่าเป็นการบังคับออมทางอ้อมก็ได้ สาหรับผู้ที่เสียภาษีเยอะก็ได้รับสวัสดิการ ที่ดีหรือผลตอบแทนมากตามที่เสียภาษีไป สวัสดิการในเยอรมนีแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ 1. ระบบประกันสังคม 2. ระบบประกันสุขภาพของรัฐ 3.ประกันบานาญของรัฐ 4. การช่วยเหลือทาง สังคมของรัฐบาล ซึ่งผู้ที่เสียภาษีจะได้บริการทั้ง 4 ประการนี้ตามการจ่ายภาษีที่สะสมไว้ในกองทุน ดังนั้น กฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จึงมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้ทางานต่อไปโดยเพิ่ม ระยะเวลาเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทางานและมีรายได้ในการดารงชีวิตต่อไปได้ ส่วนในด้านเงิน บานาญจะต้องมีการประกันภาคบังคับในแผนเงินบานาญสาธารณะ หรือจะจ่ายโดยสมัครใจก็ได้ อีก ทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ล้วนมาจากภาษีของประชาชน หรือหากเป็นผู้ทางานอิสระก็จะมาจากการสมัคร ใจ โดยรัฐจะนาเงินภาษีนั้นมาเข้ากองทุนเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ต่อไปในหลาย ๆ ด้าน แสดง ให้เห็นว่า กฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ล้วนแต่เป็นการวางแผนเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิต ในบั้นปลาย โดยได้รับเงินและสวัสดิการที่เพียงพอ ไม่สร้างภาระแก่บุตรหลาน เมื่อศึกษากฎหมายทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว พบว่าแต่ละประเทศต่างให้ความสาคัญกับสวัสดิการ ผู้สูงอายุในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามทั้งสามประเทศต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ให้ ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้เลี้ยงชีพและพึ่งพาตนเองได้ เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในเรื่อง รายได้ให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ยาวนานขึ้น สะท้อนมุมมองภาพผู้สูงอายุที่ว่า “ผู้สูงอายุเป็นภาระ” ให้เป็น “ผู้สูงอายุมีคุณค่า” ในการดารงชีวิตอยู่ในสังคม ขณะที่ประเทศไทยรัฐจัดสวัสดิการเงินกองทุน กู้ยืมเงิน ถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุสามารถกู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองอีกช่องทางหนึ่ง ดังนั้น หากมีการขยายระยะเวลาการคืนเงินกองทุนกู้ยืมเงิน ของผู้สูงอายุ เท่ากับเป็นการผ่อนภาระให้กับผู้สูงอายุ หรือจะเรียกว่าเป็นสวัสดิการอีกรูปแบบหนึ่งก็ ได้ ผลจากการสัมภาษณ์ ประเด็นกาหนดระยะเวลาการคืนเงินกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อประกอบ อาชีพ 3 ปีเหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐสานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกองทุนผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นในแนวทาง เดียวกันว่า ระยะเวลา 3 ปี เหมาะสมแล้ว เมื่อผู้สูงอายุมีสิทธิได้กู้ยืมเงินคนละ 30,000 ต่อคน กาหนด คืนเดือนละ 1,000 บาท และเมื่อมีสถานการณ์ต่างๆ เช่น โรคระบาด หรือโควิด19 ก็มีมาตรการพัก ชาระหนี้ให้ หากเปรียบเทียบกับจานวนเงินที่ผู้พิการได้รับจากกองทุนจะได้รับจานวน 60,000 บาท ต่อคน และให้ระยะเวลาคืนเงิน 5 ปี ซึ่งมีระยะเวลาคืนที่มากกว่าผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุล้วนมี ความสามารถและประสบการณ์ในการทางาน มีเพียงอายุและวัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ผู้พิการจึงมีความ แตกต่างกันในเรื่องของความสามารถ เพราะผู้พิการมีความสามารถในการทางานน้อยกว่าผู้สูงอายุ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3