2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
57 ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่สมประกอบ และไม่มีประสบการณ์เท่าผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม ครอบครัวผู้สูงอายุ มีแนวคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า ควรมีการให้ขยายระยะเวลาคืนเงินกู้ยืมจาก 3 ปี เป็น 5 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนประเด็นสัมภาษณ์ประเด็นเรื่องการผิดนัดไม่ชาระเงินคืนภายในกาหนด ควรมีการคิด ดอกเบี้ยหรือไม่นั้น ผู้ให้สัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐสานักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกองทุนผู้สูงอายุ มีความเห็นเหมือนกันว่า การกู้ยืม เงินกองทุนผู้สูงอายุไม่มีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างการกู้ยืมเงิน 3 ปี เพราะเป็นเงินที่รัฐมีนโยบายเพื่อ ช่วยเหลือผู้สูงอายุ แต่หากมีการผิดนัดควรต้องมีการคิดดอกเบี้ย ในอัตราตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่ง จะมีกระบวนการติดตามหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยวิธีการทาหนังสือบอกกล่าวเพื่อให้นาเงินมาชาระ หนี้ที่ค้างชาระ แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือแต่อย่างใด จึงเสนอแนะให้มีการดาเนินคดีฟ้องร้องต่อศาล จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่า การคืนเงินกู้ยืมกองทุน ผู้สูงอายุ ควรขยายระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยให้ผู้กู้ยืมสามารถผ่อนชาระคืนเดือนละ 500 บาท (เป็น เวลา 60 เดือน) เพื่อลดภาระให้กับผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพอย่างสุจริต เป็นการสนับสนุน และส่งเสริมการสร้างรายได้ในการที่ผู้สูงอายุสามารถหาเลี้ยงชีพพึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้จึงเห็นควรให้ ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 (3) “จ่ายเป็นเงินกู้ให้ ผู้สูงอายุได้กู้ยืม เพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพโดยให้ผู้กู้ยืมเป็นรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท หรือผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท และให้ชาระคืน รายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ผู้ขอกู้ยืมเงินต้องไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ” โดยให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ข้อ 5 (3) “จ่ายเป็นเงินกู้ให้ผู้สูงอายุได้กู้ยืม เพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพโดยให้ผู้กู้ยืมเป็น รายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท หรือผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละไม่ เกิน 100,000 บาท และให้ชาระคืนรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย หากเกิน กาหนดระยะเวลา ให้คิดอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกาหนด ทั้งนี้ผู้ขอกู้ยืมเงินต้องไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ” 4.3 การเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ ในการเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ แม้ว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 กาหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุน (2) ด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็น ประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต และ (3) การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม แต่จากสถิติการ กู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุในปีพ.ศ.2565 พบว่ามีผู้สูงอายุได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินจานวน 1,965 ราย และในปี พ.ศ.2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน ผู้สูงอายุได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจานวน 2,093 ราย เห็นได้ว่าในแต่ละปีที่ผ่านมามีจานวนผู้สูงอายุที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุน ผู้สูงอายุมีจานวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจานวนประชากรผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2565 ที่มีจานวน มากถึง 12 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งกองทุนเงินกู้ยืม เพื่อการ ประกอบอาชีพสร้างรายได้และหาเลี้ยงตนเอง ตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3