2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
58 พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 วรรคสาม ที่กาหนดให้รัฐพึงให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถ ดารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 13 จัดตั้งกองทุน ผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนเงินให้ผู้สูงอายุนาไปประกอบอาชีพเพื่อสร้าง รายได้หาเลี้ยงตนเอง อันเป็นสิทธิของผู้สูงอายุที่ควรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ สาหรับผู้สูงอายุที่มี อายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทยตามมาตรา 3 ที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อม มีสิทธิได้รับเงินกองทุนผู้สูงอายุที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ในการประกอบอาชีพ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ที่ได้ถูกรับรองสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ได้ให้ความสาคัญกับการสร้าง รายได้และประกอบอาชีพ ย่อมหมายความรวมถึงการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุด้วย เพื่อให้มี หลักประกันในการดารงชีวิตในสังคม ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.(2561 -2580) ที่ มุ่งเน้นด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ ซึ่งกองทุนผู้สูงอายุที่ให้กู้ยืมเงินเพื่อการ ประกอบอาชีพ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อพิจารณาถึงการอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุที่ผ่านมาในปี พ.ศ.2565 และในปี พ.ศ. 2566 ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากยังไม่ทราบถึงแหล่งกองทุนเงินกู้ยืม สาหรับผู้สูงอายุ ที่สามารถกู้เงินนาไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ที่ห่างไกลจากตัวเมืองจึงไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มี ศักยภาพ และทักษะในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเอง ไม่ทราบถึงสิทธิของตนในการกู้ยืม เงินกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 วรรคสาม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนผู้สูงอายุให้สามารถสร้างรายได้ในการดารงชีวิตหา เลี้ยงชีพ ทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้ว่าสานักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เข้าถึงแหล่งกองทุนผู้สูงอายุ แล้วก็ตาม แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ในเว็บไซต์ เมื่อพิจารณาจากสถิติในปีพ .ศ. 2565 ผู้สูงอายุในประเทศไทย 47.8% ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่เข้าใจหน้าจอคาสั่งที่เป็น ภาษาอังกฤษ 69.6% ไม่รู้วิธีใช้งาน 54.5% ไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการใช้งานและภัยจาก ออนไลน์ต่าง ๆ 47.1 % มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่สูงเกินไป เช่น ค่าบริการ ค่าอุปกรณ์ 30.8% และ ไม่มีคนให้สอบถามเมื่อมีคาถาม 29.2 % (สานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม, 2565) แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ไม่ได้ทราบถึง ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลจากอาเภอและจังหวัด ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างทั่วถึง การที่รัฐจัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ ตามที่กาหนดไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 มาตรา 3 กาหนดว่า “สวัสดิการสังคม” หมายความว่า ระบบการจัดบริการทางสังคมซี่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไข ปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจาเป็นขั้นพื้นฐานของ ประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึงเหมาะสม ส่งเสริมการทางาน และสร้าง รายได้ โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับ ซึ่งระพีพรรณ คาหอม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3