2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

59 (2549) กล่าวถึงสวัสดิการสังคมไว้ว่า สวัสดิการสังคม หมายถึงระบบจัดสรรและจัดการบริการสังคม ในลักษณะของโครงการหรือบริการต่าง ๆ ให้กับทุกคนในสังคม ภายใต้หลักสิทธิความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม ที่ประกอบด้วย 1) เกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดี (Quallity of Life) ควบคู่กับการใช้นโยบายทางสังคม เพื่อ สร้างระบบบริการสังคมอย่างครอบคลุม เพื่อนาไปสู่การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคง ทางสังคมโดยรวม 2) เกณฑ์สวัสดิการสังคมเป็นวัตถุประสงค์ (Aims) สวัสดิการเป็นเป้าหมายการ ทางานเพื่อใช้งานสวัสดิการสังคมเป็นเป้าหมายการทางาน เพื่อใช้สวัสดิการสังคมเป็นเครื่องมือที่จะ นาไปสู่การพัฒนาสังคมโดยรวม 3) เกณฑ์ความหมายเฉพาะเจาะจงในรูปของโครงการ กิจกรรมหรือ การบริการ 4) เกณฑ์สวัสดิการสังคมเป็นสถาบันทางสังคม 5) เกณฑ์สวัสดิการสังคมเป็นสิทธิและ ความเท่าเทียมของคนทุกคนในสังคม (ระพีพรรณ คาหอม, 2557) การที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพนั้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มี สุขภาพแข็งแรง และยังมีความสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ แต่ยังขาดปัจจัยด้านการเงินในการ นาไปประกอบอาชีพตามความถนัดหรือทักษะของตนเอง ทาให้ต้องเป็นภาระกับบุตรหลาน ซึ่ง ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นการลดคุณค่าของตนเอง ย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจของผู้สูงอายุนั้นอย่างยิ่ง หลายคนต้องต่อสู้กับความรู้สึกหดหู่ ไร้ประโยชน์ ไร้คุณค่า และขาดความเชื่อถือและนับถือจากบุคคล รอบข้างทั้งในครอบครัวและชุมชน พบว่าการที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อ ประกอบอาชีพ จึงไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 9 มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้ความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ ลดความยากจน และสนับสนุนการสร้าง รายได้แก่ผู้สูงอายุที่อยากจะทางานต่อไป เมื่อพิจารณาถึงประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทั้ง 3 ประเทศ ต่างมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน กล่าวคือให้ผู้อายุสามารถทางานสร้างรายได้ในการประกอบอาชีพเพื่อ พึ่งพาตนเองได้ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง อันเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินกู้ยืมผู้สูงอายุที่เป็นแหล่งสนับสนุนในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้เพื่อพึ่งพาตนเองได้เหมือนกับทั้งสามประเทศดังกล่าว ผลการสัมภาษณ์ ประเด็นการเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีความเห็นว่ามีการ ประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ ผ่านการจัดกิจกรรมโครงการ โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบล เช่น การออกบูธประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ มีหน่วยบาบัดทุกข์ บารุงสุขเรียกว่าจังหวัดเคลื่อนที่ ลงพื้นที่ไปในแต่ละอาเภอ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ วิทยุ และช่องทางแพลตฟอร์มต่าง ๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกองทุนผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ทุกไตรมาส สาหรับผู้ที่มีอายุ 59 ปี เพื่อแจ้ง ให้ทราบถึงสิทธิต่างๆ รวมถึงสิทธิกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพด้วย แต่ยังมีชาวบ้านรอบนอกหรือชนบท ที่ไม่ทราบถึงสิทธิในการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุนี้ ผู้ที่ทราบส่วนมากจะเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมเมือง ส่วน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่าได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบ ปีละ 2 ครั้งเกี่ยวกับ กองทุนการกู้ยืม แต่ก็ยอมรับว่าไม่สามารถประชาสัมพันธ์ได้อย่างทั่วถึง และไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มครอบครัวของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ยังไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3