2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
62 ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11(3) กาหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการ ประกอบอาชีพนั้น การที่ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข อื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ในข้อ 3(4) กาหนดให้ ผู้สูงอายุขอ กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพต้องมีคุณสมบัติและมีบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ผู้อานวยการกาหนดค้า ประกัน แสดงให้เห็นว่าการกู้ยืมเงินกองทุนผุ้สูงอายุเพื่อประกอบอาชีพประเภทรายบุคคล เป็นการ กาหนดเงื่อนไขที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงกองทุนในการกู้ยืมเงินของผู้สูงอายุที่จะนาไปใช้ ในการประกอบอาชีพ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้ค้าประกันประกอบกับการกู้ยืมเงินที่เป็นรายบุคคล จานวนไม่เกิน 30,000 บาทนั้น หากผู้กู้ยืมไม่สามารถหาผู้ค้าประกันได้จะทาให้ไม่มีสิทธิกู้ยืม เงินกองทุนผู้สูงอายุได้ เพราะติดเงื่อนไขไม่มีผู้ค้าประกันตามคุณสมบัติที่กาหนดไว้ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฎว่าการยื่นคาขอกู้ยืมเงินในแต่ละครั้ง จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กู้ว่าตรง กับเงื่อนไขตามข้อกาหนดสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุ ว่าด้วยคุณสมบัติผู้กู้ยืม ผู้ค้าประกัน และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้กู้ยืมเงินทุนประกอบ อาชีพประเภทรายบุคคลจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2556 ที่กาหนดคุณสมบัติของผู้กู้ไว้ที่มีอยู่ 7 ประการ หากผู้กู้ยืมมีคุณสมบัติครบทั้ง 7 ประการ ก็ย่อมมีโอกาสในการกู้ยืมเงินได้ แต่หากผู้กู้ยืมเงิน มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ถึงแม้จะมีผู้ค้าประกัน ก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะพิจารณา คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินเป็นสาคัญ หากไม่มีคุณสมบัติย่อมไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ หากผู้สูงอายุรายใดต้องการที่จะประกอบอาชีพต่อไป แต่ยังไม่มีทักษะในการประกอบ อาชีพ ให้สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ และออกใบรับรองการประกอบอาชีพให้เพื่อนาไปเป็นหลักฐาน ประกอบการพิจารณาอนุมัติการกู้ยืมเงินตามคุณสมบัติที่กฎหมายกาหนด ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าการจะมีผู้ค้าประกันหรือไม่ ควรเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการ ตัดสินใจ จึงไม่ควรที่จะกาหนดเป็นเงื่อนไขเป็นการบังคับว่าจะต้องมีผู้ค้าประกันทุกราย เมื่อรัฐ ประสงค์ที่จะให้ผู้สูงอายุกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อนาเงินไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้และเป็น หลักประกันให้กับผู้สูงอายุในการดารงชีพเพื่อสร้างรายได้และพึ่งพาตนเอง แต่การกาหนดเงื่อนไข ดังกล่าว เป็นการกาหนดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงกองทุนกู้ยืม เพื่อการประกอบอาชีพได้ จึงจาเป็นอย่างยิ่งต้องแก้ไขการค้าประกันกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุที่นาไป ประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดตั้งกองทุนและให้ผู้สูงอายุสามารถ เข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุเพื่อเป็นหลักประกันสร้างรายได้ในการดารงชีวิตและพึ่งพาตนเองอย่างมี คุณภาพ ควรให้มีการปรับปรุงแก้ไข ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ข้อ 3 (4) ให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์ และ เงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดตั้งกองทุน และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุเพื่อเป็น หลักประกันสร้างรายได้ในการดารงชีวิตและพึ่งพาตนเองอย่างมีคุณภาพต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3