2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
64 ปี พ.ศ.2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน ผู้สูงอายุได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจานวน 2,093 ซึ่ง ยังเป็นจานวนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจานวนผู้สูงอายุทั้งหมดประมาณ 12 ล้านคน ประกอบ กับผลการสัมภาษณ์พบว่ามีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในพื้นที่ชนบทไม่ทราบถึงสิทธิในการกู้ยืมเงินเพื่อ ประกอบอาชีพ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการสวัสดิการสังคมที่รัฐให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงไม่สอดคล้องกับแนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง และแนวคิดการเป็นแนวคิดการพึ่งพาตนเอง ของผู้สูงอายุ ถึงแม้จะปรากฏว่ามีหน่วยงานรัฐจะมีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง ทั้งการลง พื้นที่ไปประชาสัมพันธ์ หรือการใช้สื่อออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ แต่ก็มีผู้สูงอายุที่ยังไม่ทราบถึง สิทธิในการกู้ยืมเงินเพื่อนาไปประกอบอาชีพเป็นจานวนมาก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือไม่ มีอินเตอร์เน็ต ทาให้ไม่ทราบถึงข้อมูลสิทธิในการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ เมื่อผู้สูงอายุที่มี ความสามารถ แต่ขาดปัจจัยทางด้านการเงินก็ทาให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสที่จะได้ประกอบอาชีพต่อไป ส่งผลให้สภาพร่างกาย จิตใจ ของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าต้อง คอยพึ่งพาแต่บุตรหลานเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.(2561-2580) ผู้วิจัยเห็นว่าควรให้กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ และดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้สูงอายุได้ทราบถึงสิทธิกองทุนการกู้ยืมเงินดังกล่าวอย่างทั่วถึง 5.3 ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยเรื่องการพัฒนากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง ประเด็นการค้าประกันขอกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อนาไปประกอบอาชีพ ประเด็นกาหนดระยะเวลา การคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ และการเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะปรับปรุงด้าน กฎหมาย และการเสนอแนะด้านนโยบาย ดังนี้ 5.3.1 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย 1) ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นการค้าประกันขอกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุเพื่อนาไป ประกอบอาชีพ ในประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้ การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ข้อ 3 (4) ดังนี้ จากเดิม ข้อ 3 (4) “กรณีผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ต้องมีคุณสมบัติและมี บุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ผู้อานวยการกาหนดค้าประกัน” โดยให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ข้อ 3 (4) “เมื่อผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินกองทุนประกอบอาชีพ ให้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเก็บ รวบรวมข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติรวมถึงข้อเท็จจริงของผู้กู้ยืมว่าเป็นผู้มีความสามารถในการประกอบ อาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน ส่วนบุคคลค้าประกันจะมีหรือไม่ ให้เป็นดุลพินิจของพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือหัวหน้ากลุ่มที่ได้รับมอบหมายลงความเห็นในผลการอนุมัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3