2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

65 กรณีผู้สูงอายุได้กู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุไปแล้ว ไม่อาจชาระหนี้ได้ ให้นาระเบียบ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยการตัดจาหน่ายหนี้สูญของกองทุน ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม” 2) ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นกาหนดระยะเวลาการคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ ใน ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทาง การเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ข้อ 5 (3) ดังนี้ จากเดิม ข้อ 5 (3) “จ่ายเป็นเงินกู้ให้ผู้สูงอายุได้กู้ยืม เพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพโดยให้ ผู้กู้ยืมเป็นรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท หรือผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้ กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท และให้ชาระคืนรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่คิด ดอกเบี้ย ทั้งนี้ผู้ขอกู้ยืมเงินต้องไม่ได้รับความช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ” โดยให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ข้อ 5 (3) “จ่ายเป็นเงินกู้ให้ผู้สูงอายุได้กู้ยืม เพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพโดยให้ผู้กู้ยืม เป็นรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท หรือผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่ม ละไม่เกิน 100,000 บาท และให้ชาระคืนรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย หากเกินกาหนดระยะเวลา ให้คิดอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกาหนด ทั้งนี้ผู้ขอกู้ยืมเงินต้องไม่ได้รับ ความช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ” 5.3.2 ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ประเด็นการเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุ ควรกาหนดนโยบายให้สานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณาการร่วมกัน ส่งเสริมการ ประกอบอาชีพผู้สูงอายุได้เข้าถึงเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ ดังนี้ 1) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการช่วยฝึกทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ และ ออกใบรับรองการประกอบอาชีพ เพื่อนาไปประกอบการพิจารณาขอกู้ยืมเงินกองทุนในการประกอบ อาชีพของผู้สูงอายุ 2) ให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ที่ผู้สนใจหรือมีความประสงค์จะกู้ยืมเงิน ประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ มาดาเนินการลงทะเบียนประวัติกับเจ้าหน้าที่ เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล เบื้องต้นของผู้สูงอายุประกอบการพิจารณาให้กู้ยืมเงินกองทุนต่อไป 3) ให้เครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่ช่วยประกาศและประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งเน้นประชาชนใน เขตพื้นที่ชนบทให้ได้รับทราบถึงสิทธิในการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อประกอบอาชีพอีกทางหนึ่ง จากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนากฎหมายกองทุนผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง เกี่ยวกับการ กาหนดเงื่อนไขผู้ค้าประกันกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ การกาหนดระยะเวลาคืนเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ และการเข้าถึงเงินกองทุนกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุดังกล่าว ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและสามารถ นาไปประยุกต์บังคับใช้กับสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัด และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3