2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันโรงรับจำนำในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 800 แห่ง ทั้งโรงรับจำนำของรัฐบาลและของ เอกชน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) สถานธนานุเคราะห์ เป็นโรงรับจำนำรัฐบาล สังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) สถาน ธนานุบาล เป็นโรงรับจำนำรัฐบาลที่มาจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร และ โรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ 3) โรงรับจำนำเอกชน ดำเนินงานโดย เอกชน (นันท์นภัส ฤทธิธาดา, 2564) ซึ่งโรงรับจำนำทุกประเภทที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ล้วนแล้วแต่อยู่ ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยลักษณะจำนำด้วยกันทั้งสิ้น โรงรับจำนำถือได้ว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ให้บริการแก่ผู้มีรายได้น้อย หรือมีปัญหาขาดเงินทุน หมุนเวียน แต่การพัฒนากิจการโรงรับจำนำค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาล การดำเนินกิจการสถาน ธนานุบาลที่เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น ในการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ โดยเสียอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น และ สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2557) กำหนดไว้ว่า ให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรเงินกำไรสุทธิ ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อทำนุบำรุงท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 30 อีกด้วย สถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อยู่ในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันในต่างจังหวัดมีโรงรับจำนำที่เปิดดำเนินกิจการโดยเอกชนอย่างแพร่หลายกระจายตัว อยู่ทั่วประเทศ โรงรับจำนำเอกชนหลายแห่งได้พัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องกับสังคม ดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการโรงรับจำนำ เช่น การประเมินราคารับจำนำ ออนไลน์ การนำแอปพลิเคชันมาใช้เพื่อตรวจสอบตั๋วจำนำและส่งดอกเบี้ยออนไลน์ เป็นต้น โดย โรงรับจำนำเอกชนในภาพรวมมีการประเมินราคาทรัพย์จำนำที่สูงกว่าโรงรับจำนำของรัฐบาล แต่มี การคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าโรงรับจำนำของรัฐบาล โรงรับจำนำของรัฐบาลจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ที่สุดของประชาชนเพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าโรงรับจำนำของเอกชนในภาพรวม และสถาน ธนานุเคราะห์ ที่เป็นโรงรับจำนำของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นกลไกในการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อรับ จำนำในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยไม่ให้โรงรับจำนำเอกชนเรียกค่าบริการสูงกว่าที่ กฎหมายกำหนด โดยการให้บริการของสถานธนานุเคราะห์ ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขจัดความเดือนร้อนในด้านการเงินของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3