2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
2 ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินเฉพาะหน้า ซึ่งสถานธนานุเคราะห์แต่เดิม ตั้งอยู่ในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล แต่ปัจจุบันได้เปิดขยายสาขาในต่างจังหวัด เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการโรงรับจำนำเพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าในต่างจังหวัด นอกจากโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีโรงรับจำนำของรัฐ คือ สถาน ธนานุเคราะห์ และโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงรับจำนำของรัฐอย่าง สถานธนานุเคราะห์ มีแนวนโยบายในช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางการเงิน ไม่มุ่งเน้นแสวงหาผลกำไรเป็นหลัก ซึ่งมีแนวนโยบายสอดคล้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการดำเนินการของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ต้องให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความ สะดวกแก่ประชาชน โดยต้องขจัดปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการดำเนินการสถานธนานุบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเทศบาล มีฐานะเป็นเจ้าของสถานธนานุบาล เป็นผู้ควบคุมดูแล ในระดับท้องถิ่นซึ่งมีภาระหน้าที่ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) กำหนด ส่วนสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลในส่วนกลางซึ่งมีภาระหน้าที่ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการจัดการ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการขจัดปัญหาและ อุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติของพนักงานสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการบริการประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาล มีฐานะเป็นเจ้าของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น แต่มีอำนาจในการบริหารจัดการสถานธนานุบาลที่จำกัด บางกรณีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาลต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างจากอัตรา ดอกเบี้ยที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด ให้ ขอทำความตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรณีพิเศษก่อนการปฏิบัติ (สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น, 2565) และ การขยายระยะเวลาในตั๋วรับจำนำ อันเนื่องมาจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เกิดโรคระบาด มีคำสั่งของภาครัฐจำกัดการเดินทางของประชาชน ต้องได้รับหนังสือสั่งการจาก สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนจึงจะขยาย ระยะเวลาในตั๋วจำนำตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นกำหนดเท่านั้น จากกรณีดังกล่าวทำให้เกิดความล้าช้าในทางปฏิบัติส่งผลกระทบต่อ ประชาชนผู้ใช้บริการ ส่วนการขยายระยะเวลาในตั๋วจำนำอันเนื่องมาจากความต้องการขององค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาล เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของประชาชน ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากการขยายระยะเวลาในตั๋วจำนำเป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการ จัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดเท่านั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3