2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

3 ด้วยปัจจุบันเป็นยุคสังคมดิจิทัล เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของผู้คน ในสังคม สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีเรื่องที่ต้องพัฒนาหลายเรื่อง ซึ่งต้อง อาศัยกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินกิจการ ให้เท่าทันกับยุค สังคมดิจิทัล และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยระยะเวลาเปิดทำการของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่เวลา 08.00น.-16.00น. นั้นไม่สอดคล้องกับเวลาเลิกงานของประชาชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องการนำทรัพย์สินมาจำนำ หรือนำเงินมาส่งดอกเบี้ย หรือนำเงินมา ไถ่ถอน ซึ่งไม่สามารถมาได้ในระยะเวลาทำการดังกล่าว และวงเงินการรับจำนำถูกจำกัดอยู่ที่ 100,000 บาทต่อตั๋วหนึ่งใบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับมูลค่าทรัพย์สินที่มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชน ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้วงเงินสูงสุดที่ได้จากการประเมินราคารับจำนำดังกล่าวได้ และการส่งดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้นตามสัญญาในตั๋วจำนำ ประชาชนผู้ใช้บริการต้องเดินทางมาส่งดอกเบี้ยที่สถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น จึงส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ไม่สะดวกในการเดินทาง การดำเนินการกับบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า 4 เดือน สถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนผู้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลา กว่า 4 เดือน โดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่เปิดเผยที่โรงรับจำนำ ซึ่งการปิดประกาศดังกล่าวแต่เพียง ช่องทางเดียว ส่งผลกระทบต่อประชาชนในการรับรู้ข่าวสารที่ไม่ทั่วถึง ส่วนขั้นตอนการขายทอดตลาด ของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการโดยวิธีการประมูล ณ ที่ทำการ สถานธนานุบาลเท่านั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องการประมูลแต่ไม่สะดวกในการเดินทาง มาร่วมประมูลในวันและเวลาที่สถานธนานุบาลกำหนดได้ ปัญหาของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนใน ประเทศ และมีผลต่อการต่อการดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประเด็น ที่ต้องศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบเพื่อพัฒนาโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ ประการแรกกรณีเกี่ยวกับโครงสร้างการกำกับ ดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาล ในการบริหารจัดการตนเองน้อยเกินไป จึงส่งผลต่อการพัฒนาโรงรับจำนำ ประการที่สอง กรณีเกี่ยวกับการบริการประชาชนในการรับจำนำ การส่งดอกเบี้ย และการไถ่ถอน ของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและสังคมดิจิทัล ประการที่สาม กรณีเกี่ยวกับกระบวนการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชนในสังคมดิจิทัล ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อ ประชาชนในประเทศซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงชีพ และยังส่งผลถึง ธุรกิจขนาดย่อมในชุมชนท้องถิ่นที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ โดยคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ .ส.ท.) ภายใต้กรม ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หากดำเนินการแก้ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการ ดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นการพัฒนาทั้งระบบของ โรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเทศบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของ โรงรับจำนำ จะได้มีแนวทางในการกำกับดูแลสถานธนานุบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ สังคมดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3