2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
4 ด้วยเหตุนี้จึงผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง การพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและอุปสรรค ประเด็นปัญหาโครงสร้างการกำกับดูแล สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประเด็นการบริการประชาชนในการรับจำนำ และการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งที่กล่าวมานี้จำเป็นต้อง มีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนในประเทศ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริการประชาชนเกี่ยวกับสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 1.2.3 เพื่อศึกษาวิเคราะห์กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.2.4 เพื่อพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ 1.3 คำถามวิจัย การวิจัยครั้งนี้มุ่งหาคำตอบในประเด็นคำถามหลัก คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการ กำกับดูแลและการบริการประชาชนเกี่ยวกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใช้ บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน สอดคล้องกับสังคมดิจิทัลหรือไม่ อย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวกับโครงสร้างและการบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีประเด็นการรับจำนำที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ตลอดจนการส่งดอกเบี้ย การไถ่ถอน และการขายทอดตลาดที่ไม่สอดคล้องกับสังคมดิจิทัล จึง เห็นสมควรต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ 1.5 ขอบเขตการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ 3 ด้าน ดังนี้ ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) แนวคิดทฤษฎี บทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง หนังสือ บทความ ผลงาน ทางวิชาการ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3