2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายซึ่ง ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ การทบทวนเอกสาร กฎหมายต่างประเทศ และประเทศไทย รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ในกฎหมายโรมัน 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายจำนำของไทย 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงรับจำนำในประเทศไทย 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น 2.6 ทฤษฎีว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สิน 2.7 หลักการขอจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.8 หลักการจัดการบริการสาธารณะที่ดี 2.9 หลักการให้บริการประชาชน 2.10 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 2.11 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 2.12 กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.13 กฎหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.14 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ในกฎหมายโรมัน กฎหมายเกี่ยวกับการประกันหนี้นั้นมีมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ตั้งแต่ในสมัยโรมันโดยกฎหมาย โรมันมีสัญญาชนิดหนึ่งเรียกว่า “Pignus” เป็นสัญญาซึ่งลูกหนี้ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าหนี้ไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันมีลักษณะคล้ายสัญญาจำนำของประเทศ ไทยนอกจากนี้ในระบบกฎหมายโรมันยังมีสัญญาในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า “Hypotheca” เป็น สัญญาซึ่งลูกหนี้นำอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน) ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยไม่จำต้องส่งมอบการ ครอบครอง อันมีลักษณะคล้ายสัญญาจำนองของประเทศไทยในปัจจุบัน (ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์, 2561) ในสมัยโรมันนั้น อาจแยกพิจารณาการโอนการครอบครองทรัพย์ไปเป็นประกันหนี้เป็น 2 ช่วงคือ 1) ปลายยุคสาธารณรัฐ มีลักษณะเป็นเพียงการที่โอนการครอบครองหรือโอนอำนาจเหนือตัว ทรัพย์ในทางข้อเท็จจริงจากลูกหนี้ไปยังเจ้าหนี้เพื่อประกันหนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3