2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

7 2) ในยุคคลาสสิค การโอนการครอบครองในกรณีนี้เกิดเพียงจากการส่งมอบทรัพย์และมีลักษณะ เป็นทรัพยสิทธิ กล่าวคือเจ้าหนี้ผู้รับมอบทรัพย์มีสิทธิเหนือทรัพย์ด้วย แต่การโอนเพียงการครอบครองนี้ทำให้ลูกหนี้ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นอยู่ แม้โดย หลักการลูกหนี้จะยังคงมีอำนาจในการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ในฐานะที่เป็นเจ้าของได้ แต่ก็ยังเห็นว่า ลูกหนี้อาจทำได้เฉพาะสัญญาที่ก่อหนี้เท่านั้น เพราะสัญญาที่ก่อผลทางทรัพย์ตามกฎหมายของ พลเมืองโรมันนั้นต้องมีการดำเนินการที่ผู้โอนซึ่งในกรณีนี้คือลูกหนี้นั้นต้องมีตัวทรัพย์อยู่ในความ ครอบครองด้วยจึงจะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ตามแบบพิธีได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหนี้ได้ครอบครองหรือรับมอบทรัพย์ไว้แล้ว เจ้าหนี้ผู้รับจำนำจะมีสิทธิ ดังนี้ คือ (1) สิทธิครอบครอง (Ius possedend) ตัวทรัพย์ที่จำนำทันที สิทธิครอบครองที่เกิดจาก การจำนำนี้เป็นเหตุให้ผู้รับจำนำไม่อาจอ้างเพื่อการครอบครองปรปักษ์ได้ ทั้งผู้รับจำนำยังไม่มีสิทธิ ในการใช้สอยหรือได้ดอกผลจากทรัพย์ด้วย (2) มีสิทธิบังคับชำระหนี้บนตัวทรัพย์ที่จำนำ (Ius distrahend) กล่าวคือนำทรัพย์ออก ขายเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ แต่ส่วนที่เหลือต้องคืนให้แก่ลูกหนี้ (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2559) ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาณาจักรโรมันจะได้ล่มสลายไปนานแล้วก็ตาม หากแต่กฎหมายโรมันใน ส่วนที่เกี่ยวด้วยการประกันหนี้ก็ได้มีอิทธิพลต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นยุโรปที่ ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law System) และแม้กระทั่งประเทศอังกฤษที่ใช้ระบบคอม มอนลอว์ (Common Law System) เองก็ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในเรื่องจำนอง กฎหมายอังกฤษถือตามหลักกฎหมายโรมันที่ว่า ผู้รับจำนองก่อนมีสิทธิดีกว่าผู้รับ จำนองทีหลัง (Qui prior Est Tempore, Potior Est Jure ) (ถาวร โพธิ์ทอง, 2528) 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายจำนำของประเทศไทย ประวัติและที่มาของกฎหมายจำนำของประเทศไทย ในสังคมไทยเดิม สิ่งที่มีความสำคัญคือ แรงงาน เพราะมีผู้คนน้อย แต่มีความต้องการแรงงานใน การดำเนินการต่าง ๆ ทรัพย์สินโดยเฉพาะที่ดินจึงไม่ได้มีความสำคัญนัก จากหลักฐานในศิลาจารึก สมัยพ่อขุนรามคำแหง แนวความคิดเรื่องระบบกรรมสิทธิ์มีความชัดเจน ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินของตน (แสวง บุญเฉลิมวิภาส , 2560) ต่อมาแนวคิดในเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เปลี่ยนแปลงไป ในสมัยอยุธยา ที่ดินทั้งหมดเป็นของพระมหากษัตริย์ ราษฎรสามารถครอบครองที่ดิน เพื่อทำประโยชน์เท่านั้น และผู้ปกครองสามารถเรียกคืนที่ดินได้โดยไม่ต้องใช้เงินให้กับราษฎร (เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว., 2559) ราษฎรไม่สามารถซื้อขายที่ดินได้ และหากราษฎรไม่ครอบครองที่ดิน และมี ผู้อื่นเข้ามาทำกิน การครอบครองก็สิ้นสุดลง (โรแบรต์ แลงกาต์, 2553; แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) บทกฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำปรากฎในพระอัยยการลักษณะกู้หนี้ โดยผู้จำนำต้องส่งมอบ ทรัพย์นั้นให้แก่ผู้รับจำนำ การส่งมอบทรัพย์ทำให้ผู้รับจำนำมีสิทธิ์ในการยึดถือทรัพย์ที่รับมอบเป็น ประกัน และผู้รับจำนำต้องใช้ความระมัดระวังในการรักษาทรัพย์ ผู้รับจำนำจะต้องรับผิดชดใช้ราคา ทรัพย์ให้กับผู้จำนำหากทรัพย์ที่จำนำสูญหายหรือเสียไปด้วยความประมาทเลินเล่อของผู้รับจำนำ หาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3