2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

8 ผู้รับจำนำไม่ได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้หรือภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่จำนำ ทรัพย์ที่ ส่งมอบไว้ก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนำ แต่กรณีที่ทรัพย์ที่จำนำเป็นไร่นาเรือกสวน หากผู้รับจำนำ และผู้จำนำถึงแก่กรรม ทายาทของผู้จำนำยังสามารถไถ่ถอนที่ดินนั้นคืนได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ทำ การจำนำ กฎหมายไม่ได้ระบุถึงการจำนองไว้แต่อย่างใด แต่ใช้การจำนำรวมไปถึงการจำนำทั้ง สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ การจำนำที่ดินเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระกฎหมายในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา อันเป็นช่วงเวลาที่ราษฎรสามารถถือครองที่ดินได้ กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการจำนำไร่ นาและสวนไว้แต่เพียงมาตราเดียว คือ พระอัยการเบ็ดเสร็จบทที่ 75 โดยมาตรานี้บัญญัติถึงการจำนำ สังหาริมทรัพย์รวมไปด้วย การจำนำที่ดินทำได้โดยการส่งมอบทรัพย์ให้กับผู้รับจำนำ โดยไม่ต้องทำ เป็นหนังสือ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายใน 3 ปี สิ่งที่จำนำไว้ก็ตกเป็นของผู้รับจำนำและหนี้ที่มีอยู่ก็ ระงับสิ้นไป ต่อมาเมื่อที่ดินเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ระยะเวลา 3 ปีก็แลดูจะสั้นเกินไป จึงมีการ กำหนดใหม่ว่า หากผู้รับจำนำและเจ้าของเดิมตายลงทั้ง 2 คนภายใน 10 ปีนับแต่วันที่จำนำ ทายาท ของผู้จำนำยังคงมีสิทธิที่จะไถ่ที่ดินคืนได้ หากทรัพย์ที่จำนำก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับจำนำ เช่น ทาสหรือสัตว์พาหนะ อันผู้รับจำนำ สามารถใช้งานทรัพย์นั้นได้ หนี้ที่เป็นประกันจะเป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เนื่องจากผู้รับจำนำได้ประโยชน์ จากสิ่งที่ตนยึดถือเสมือนกับดอกเบี้ยอยู่แล้ว ผู้รับจำนำทรัพย์ประเภทนี้จึงเรียกได้แต่เงินต้นคืน นอกจากนี้หลักกฎหมายในส่วนจำนำมีความเข้มงวดมาก กล่าวคือ ทรัพย์ที่จำนำจะต้องเป็นของ เจ้าของทรัพย์ที่จำนำ หากทรัพย์ที่จำนำถูกลักขโมยมา ผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิติดตามเรียกให้ผู้รับจำนำ คืนทรัพย์นั้นได้ และผู้รับจำนำต้องเอาตัวผู้ที่จำนำมาให้เจ้าหน้าที่ หรือหากผู้รับจำนำมิได้แจ้งให้ เจ้าหน้าที่ทราบเมื่อมีความสงสัย ผู้รับจำนำต้องโทษปรับด้วย เมื่อประเทศไทยเข้าทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2438 ที่ดินก็เริ่มมีความสำคัญเนื่องจากมี การเข้าจับจองที่ดินเพื่อทำนา ราคาที่ดินก็สูงขึ้น ผู้คนปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตจากการอาศัยบนแพ มาอยู่บนพื้นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีข้อพิพาทจำนวนมากขึ้นสู่ศาลว่าการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญา เป็นการขายขาด ขายฝากหรือจำนำ เนื่องจากเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดินก็ไม่ต้องการให้ที่ดิน ตกเป็นของนายเงิน จึงขอไถ่ถอนที่ดินคืนมา ส่วนนายเงินก็ไม่ให้ไถ่ถอน เมื่อคดีขึ้นศาล การนำสืบก็ ยุ่งยากเพราะต้องใช้พยานบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว ทางการจึงแก้ปัญหาด้วยการออกประกาศ กำหนดให้คู่สัญญาต้องทำสัญญาเป็นหนังสือเพื่อใช้เป็นหลักฐาน แสวง บุญเฉลิมวิภาส (2560) กล่าว ไว้ว่า ภาครัฐก็ให้ความสำคัญกับที่ดินมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองที่ดิน โดยให้กระทรวงเกษตราธิการออกโฉนดที่ดินเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2441 จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5 มี การตั้งหอทะเบียนที่ดินขึ้น (โรแบรต์ แลงกาต์, 2553) ในช่วงรัชกาลที่ 5 ทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำที่ดินมาเป็นประกันเปลี่ยนแปลงไป เจ้าของดิน ต้องการเงินทุนแต่ไม่ประสงค์ที่จะส่งมอบที่ดินให้กับนายเงินจึงทำแต่เพียงส่งมอบหนังสือให้แก่นาย เงิน โดยนายเงินสัญญาว่าจะคืนเอกสารให้ เมื่อเจ้าของที่ดินได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว การประกันด้วย วิธีนี้เป็นประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินเพราะยังสามารถครอบครองและทำกินบนต่อไป แต่ก็ต้องเสีย ดอกเบี้ยให้กับนายเงิน การปฏิบัติในเช่นนี้ก็เรียกว่าจำนำอยู่ซึ่งก็กลายมาเป็นจำนองในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 (พ.ศ.2438) ที่รองรับให้มีการนำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3