2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
9 สังหาริมทรัพย์มาเป็นหลักประกันได้ และป้องกันมิจฉาชีพที่ใช้การจำนำเป็นช่องทางในการจำหน่าย ทรัพย์สินที่ลักมา เนื่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับกับจำนำไม่เหมาะกับจำนำในรูปแบบใหม่ที่เจ้าของที่ดินไม่ต้องส่ง มอบที่ดินให้กับนายเงิน ทำให้ในปี พ.ศ. 2442 มีการตราประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 วางรูปแบบการจำนำที่ดินโดยกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือกรมธรรม์ต่อเจ้าพนักงานที่อำเภอ ตาม ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 1 นอกจากนี้ ประกาศฉบับนี้ยังผสานแนวคิดของ การคุ้มครองกับผู้จำนำเข้าไปด้วย เช่น ในกรณีที่ผู้จำนำค้างชำระดอกเบี้ยมาเป็นเวลา 3 ปี ผู้รับจำนำ จะฟ้องเพื่อให้ตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทันทีไม่ได้ผู้จำนำสามารถรักษากรรมสิทธิ์เอาไว้ได้โดยเข้าชำระ ต้นเงินดอกเบี้ยและค่าเสียหายทั้งปวงก่อนที่ศาลจะตัดสินให้ให้ผู้รับจำนำเป็นเจ้าของ ตามประกาศ เรื่องจำนำแลขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 2 ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ให้ผู้จำนำเข้าเป็นเจ้าของที่ดิน ได้ทันทีหากผู้จำนำไม่ชำระหนี้เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปี หรือ 10 ปี จนมาถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 และมีการชำระบทบัญญัติในบรรพ 3 ใหม่ จนมีการประกาศให้ใช้บังคับบทบัญญัติใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 2471 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2472 (พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่, 2471; แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้พัฒนารูปแบบการจำนองที่เกิดขึ้นเมื่อ ร. ศ. 118 เพื่อให้จำนองเป็นหลักประกันมีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์ (โรแบรต์ แลงกาต์, 2553) ในการ จัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจำนองและจำนำ กฎหมายต้นแบบในการร่างกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส เยอรมันนี สวิสเชอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และอังกฤษ (ภาควิชานิติศึกษา ทางสังคม ปรัชญา และประวัติศาสตร์, 2557) 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงรับจำนำในประเทศไทย กิจการรับจำนำในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยอดีตแต่ไม่ปรากฏหลักฐานโดยแน่ชัดว่า การรับ จำนำเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยใด แต่คาดว่าเกิดการรับจำนำมาตั้งแต่ 300 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งในระยะแรกได้ มีการยืมเงินโดยไม่ต้องมีสิ่งของวางประกัน (สงวน อั้นคง, 2514) ส่วนใหญ่เป็นการยืมกันในหมู่ญาติ สนิท มิตรสหายคนรู้จักคุ้นเคยกัน (“เรื่องโรงรับจำนำ”, 2443) ส่วนใหญ่มักเป็นพวกที่ฐานะทางการ เงินดี (สงวน อั้นคง, 2514) หรืออาจจะยืมกับมูลนายของตน (อคิน รพีพัฒน์, 2521) 2.3.1 ประวัติความเป็นมาของโรงรับจำนำ ระบบการจำนำเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอดีต เมื่อประมาณ 2,000 – 3000 ปี มาแล้ว ในทวีปเอเชีย โดยชนชาติจีนเป็นชนชาติแรกที่มีการจำนำเกิดขึ้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ใคร เป็นผู้ริเริ่มการจำนำ และไม่มีหลักฐานว่าเกิดโรงรับจำนำแห่งแรกในประเทศจีนเมื่อใด (ยุธิษเฐียร (นามแฝง), 2504) ในยุโรประบบการรับจำนำได้เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่สมัยยุคกลาง ประมาณศตวรรษที่ 10 – 11 ชนชาติยิวเป็นผู้เริ่มกิจการรับจำนำ และให้กู้ยืมเงิน (สมคิด ศรีสังคม, 2526) ในศตวรรษที่ 15 ชาวอิตาลีได้ก่อตั้งโรงรับจำนำเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคมากกว่าที่ จะให้กู้ยืมเพื่อไปลงทุนทำการค้า (สมคิด ศรีสังคม, 2526) ต่อมากิจการโรงรับจำนำได้แพร่หลายจนไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3