2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

10 ถึงสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อศตวรรษที่ 18 (เยาวณี กี่ศิริ, 2523) ในส่วนของ ประเทศไทยโรงรับจำนำแม้ จะเกิดขึ้นภายหลัง แต่ระบบการจำนำก็มีมานานแล้วในสังคมไทย (นันทนา โชติเวทธำรง, 2528) สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2284 (จ.ศ. 1103) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่บรมโกษฐ มี พระบรมราชโองการให้ตราพระราชกำหนดระบุทรัพย์สินที่จะนำมาจำนำและขายได้ โดยมิให้มีการ จำนำหรือขายของในเวลากลางคืนนอกจากอาหารการกินเท่านั้น ให้ซื้อขายจำนำกันแต่เฉพาะ คนรู้จัก ในสมัยนั้นสิ่งที่จะใช้เป็นหลักประกันในการจำนำ คือ สังหาริมทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ทองรูปพรรณ เพชรนิลจินดา และสัตว์มีชีวิตแล้ว (“เรื่องโรงรับจำนำ”, 2443) โรงรับจำนำแห่งแรกเปิดดำเนินการโดยชาวจีนชื่อ “จีนฮง” หรือ “เจ็กฮง” จีนฮงเป็นคนแรก ที่ตั้งโรงรับจำนำขึ้น ในปี พ.ศ. 2409 ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 ปรากฏว่ามีโรงรับจำนำของเอกชน ใน เขตกรุงเทพมหานครกว่า 200 แห่ง (“เรื่องโรงรับจำนำ”, 2444) เพราะการจัดตั้งโรงรับจำนำก่อน พ.ศ. 2438 นั้น ไม่จำเป็น ต้องขออนุญาตจากทางราชการหรือต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีกฎหมายควบคุมกิจการโรงรับจำนำ ทำให้โรงรับจำนำมีสภาพไม่ต่างกับแหล่งรับของโจร ในรัชสมัยของ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชบัญญัติโรงรับจำนำรัตนโกสินทร์ศก ร.ศ. 114 (พ.ศ. 2438) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้โรงรับจำนำรับซื้อของโจร พระองค์จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 ออกประกาศใช้บังคับในจังหวัด แขวงกรุงเทพมหานครก่อนเป็นเขตแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) และมีผลใช้ บังคับ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2438 เป็นต้นมา โดยที่พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 ยังมี หลักการสำคัญอื่น ๆ อีกเช่น การกำหนดให้ผู้จะดำเนินกิจการรับจำนำสิ่งของที่มีต้นเงินต่ำกว่า 400 บาท ลงมาต้องขอใบอนุญาตโดยเสียค่าใบอนุญาตเดือนละ 50 บาท และต้องชำระล่วงหน้า หากใน เดือนต่อไปมิได้ชำระค่าธรรมเนียมถือว่าใบอนุญาตนั้นขาดอายุและมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน 160 บาท การกำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูง ข้อห้ามในการประกอบธุรกิจหรืออาชีพอย่างอื่นใน โรงรับจำนำ วิธีการในการไถ่ถอนทรัพย์สิน เป็นต้น จึงถือได้ว่าพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 นี้เป็นการเริ่มต้นในการเข้าควบคุมโรงรับจำนำของทางราชการ (เยาวณี กี่ศิริ, 2523) แต่ยังคงไม่ สามารถป้องกันการรับซื้อของโจร และการค้ากำไรเกินควรของผู้ประกอบการโรงรับจำนำได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ได้มีการปรับปรุง พระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2480 ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ. 114 ให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2481 เป็นต้นมา เพื่อให้รัฐสามารถเข้าควบคุมจำนวน โรงรับจำนำได้ เพราะต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าตรวจสอบโรงรับจำนำได้อย่างทั่วถึง เพื่อ ป้องกันการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงรับ จำนำโดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2484 ต่อมาจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติโรง รับจำนำ พ.ศ. 2505 ขึ้นและบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พุทธศักราช 2480 ได้ออกใช้เป็นเวลานานมาแล้ว ทั้งนี้ ได้มีการ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโรงรับจำนำหลายประการ เช่น ได้มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุม โรงรับจำนำขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมโรงรับจำนำ โดยให้มีอำนาจหน้าที่หลายประการ เช่น มีอำนาจ พิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงรับจำนำและคำขอย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำ และให้อำนาจใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3