2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

11 การพิจารณาเพิกถอนหรือ สั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือมีคาสั่งให้ควบคุมโรงรับจำนำ การสิ้นอายุของใบอนุญาต ตั้งโรงรับจำนำ จากวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น 31 ธันวาคมของทุกปี การกำหนดจำนวนเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย การอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับอนุญาต การรายงานบัญชีงบ เดือน และบทกำหนดโทษ เพื่อให้มีความเหมาะสมแก่กาลสมัย พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มีบทบัญญัติที่ไม่รัดกุม ทาให้โรงรับจำนำ มีช่องทางหาประโยชน์โดยไม่ชอบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งข้อบกพร่องของบทบัญญัติที่ไม่บังคับให้โรงรับ จำนำลงรายการหลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้มาจำนำประกอบกับบทบัญญัติที่คุ้มครองโรงรับจำนำให้มีสิทธิ เรียกค่าไถ่คืนทรัพย์จำนำจากเจ้าของทรัพย์ ที่แท้จริงได้ในเมื่อต่อมาปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ผู้จำนำ ได้มาโดยการกระทำความผิด กรณีปรากฏบ่อยครั้งว่า โรงรับจำนำได้ร่วมมือกับผู้จำนำที่ได้ทรัพย์มาโดยทุจริตโดย รับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยไม่ลงรายการหลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้มาจำนำให้ตรงตามความเป็นจริงและให้มี รายละเอียดพอสมควร และนอกจากนั้นในบางครั้งก็ปรากฏว่าโรงรับจำนำลงจำนวนเงินรับจำนำใน ตั๋วรับจำนำไว้สูงเกินกว่าความจริงด้วยเจตนาที่จะแสวงหาผลกำไรโดยไม่สุจริต เช่น ได้รับดอกเบี้ยจาก จำนวนเงินต้นที่สูงกว่าความจริง หรือเพื่อให้ทรัพย์ที่จำนำนั้นหลุดเป็นสิทธิของตน นอกจากนั้นเมื่อมี เจ้าของที่แท้จริงมาขอไถ่ทรัพย์จำนำคืน โรงรับจำนำก็จะเรียกร้องค่าไถ่ทรัพย์นั้นได้ตามราคา ที่ปรากฏในตั๋วรับจำนำ โดยที่เจ้าของที่แท้จริงไม่มีหนทางที่จะติดตามเรียกร้องเอาจากผู้ที่ได้ ทรัพย์จำนำนั้นมาโดยทุจริตได้ ในต่างประเทศเป็นหลายประเทศได้ออกใบอนุญาตการดำเนินกิจการโรงรับจำนำให้แต่เฉพาะ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่เนื่องจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของเรายังไม่พร้อม ที่จะ ดำเนินการเช่นนี้ จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ไปพลางก่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยภาวะในทางเศรษฐกิจ และการเงินในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นอันมาก ทำให้การครองชีพและความเป็นอยู่ ของประชาชนต้องตกอยู่ในภาวะแร้นแค้นและ ขาดแคลนโดยทั่ว ๆ ไป โรงรับจำนำเป็นสถาบันการเงิน ที่ได้ช่วยอนุเคราะห์แก่ความเป็นอยู่ของ ประชาชนผู้เดือดร้อนต่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ เป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาการครองชีพ และความจำเป็นนานาประการอันอาจเกิดมีขึ้นได้ ในหลาย ๆ กรณี ทาให้ผู้จำนำพลั้งเผลอหลงลืม หรือติดขัดเพราะความจำเป็น เป็นเหตุให้ขาดส่งดอกเบี้ยได้ โดยง่าย และอาจล่วงเลยพ้นกำหนดตามที่ ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติและสิ่งของต้องหลุด เป็นสิทธิแก่โรงจำนำ ทำให้ต้องสูญเสียสิ่งของ เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนแก่ผู้มีฐานะลำบากยากจนยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวควรได้ให้โอกาส และเวลาแก่เจ้าของทรัพย์ให้มากขึ้นกว่าเดิม และทั้งเพื่อให้ โรงรับจำนำได้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาเกี่ยว ด้วยความเป็นอยู่ของประชาชนร่วมกับรัฐบาลให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการตั้งโรงรับจำนำ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ มีการแก้ไขในสาระสำคัญกรณีผู้รับจำนำจะต้องจัดทำบัญชีรับจำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ย เป็นเวลากว่า 4 เดือน ยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตและปิดประกาศบัญชีนั้นไว้ ณ ที่เปิดเผย ณ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3