2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

12 โรงรับจำนำนั้นตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและเมื่อผู้รับจำนำ ได้ปฏิบัติการถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว ให้บรรดาทรัพย์จำนำที่ปรากฏตามบัญชีที่ผู้รับจำนำทำขึ้น และประกาศไว้ ซึ่ง เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมิได้สั่งอายัดไว้ หรือผู้รับจำนำมิได้ขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนำ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทนิยามของคำว่า “โรงรับจำนำ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดวงเงินให้โรงรับจำนำรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้ เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้ สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจ กันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวไม่เหมาะสมกับ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ มีความจำเป็นหรือ ได้รับความเดือดร้อนทางการเงินให้ได้รับเงินจากการจำนำหรือขายสิ่งของดังกล่าว เพิ่มขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า “โรงรับจำนำ” ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เสียใหม่ โดยเพิ่มจำนวนเงินให้โรงรับจำนำรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นไม่เกิน หนึ่งแสนบาทและรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นไม่เกินหนึ่งแสนบาท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 2.3.2 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงรับจำนำ กิจการโรงรับจำนำไม่ว่าทั้งของเอกชน และของภาครัฐ ถ้าจะกล่าวถึงวัตถุประสงค์แล้ว ปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อช่วยเหลือคนยากจนหรือผู้มีรายได้น้อย ให้กู้ยืมเงินโดยจ่าย ดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าการกู้เงินนอกระบบ โดย วิมล ชาตะมีนา และคณะ (2554) ได้จำแนก วัตถุประสงค์ในรายละเอียดได้ ดังนี้ 1) เพื่อช่วยเหลือคนยากจนหรือผู้มีรายได้น้อย ให้กู้ยืมเงินโดยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่า การกู้เงินนอกระบบ 2) เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีเงินทุนหมุนเวียน นำไปบรรเทาความเดือดร้อนหรือนำเงินไป ลงทุนในกิจการขนาดย่อม 3) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการตรวจสอบทรัพย์สิน ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและ สามารถติดตามผู้กระทำผิด 4) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมรับซื้อของโจรวัตถุประสงค์ของโรงรับจำนำทุกประเภทจะ คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด กล่าวคือ โรงรับจำนำของเอกชน หวังผลกำไร จากการดำเนินกิจการ และโรงรับจำนำของรัฐบาลอย่างสถานธนานุบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้น คือ เพื่อนำเงินรายได้ไปบูรณะท้องถิ่น วัตถุของการจัดตั้งโรงรับจำนำสรุปได้ว่า เป็นไปเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป ได้อย่างสะดวกและ รวดเร็ว และเป็นการควบคุมการรับซื้อของโจร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3