2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

13 2.3.3 ประเภทของโรงรับจำนำ ปัจจุบันโรงรับจำนำในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 800 แห่ง ทั้งโรงรับจำนำของรัฐบาลและ ของเอกชน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) สถานธนานุเคราะห์ เป็นโรงรับจำนำ รัฐบาลสังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) สถานธนานุบาล เป็น โรงรับจำนำรัฐบาลที่มาจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ โรงรับจำนำของ กรุงเทพมหานคร และโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ 3) โรงรับจำนำ เอกชน ดำเนินงานโดยเอกชน (นันท์นภัส ฤทธิธาดา, 2564) โรงรับจำนำเอกชน สถานธนานุบาล หรือ สถานธนานุเคราะห์ เป็นสถาบันการเงินประเภทที่ พิจารณาตามหน้าที่และลักษณะการดำเนินกิจกรรมหลักของสถาบันการเงินภายใต้กรอบของ กฎหมายเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีหน้าที่หลัก ในการให้กู้ นับเป็นสถาบันการเงินขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วไปตามชุมชน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีฐานะยากจน ไม่มีหลักทรัพย์พอที่จะกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น ๆ บางครั้งจึงมีผู้เรียกโรงรับจำนำว่า ธนาคารคนยาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มีรายได้น้อย 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประวัติความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานธนานุบาล กิจการสถานธนานุบาลได้ริเริ่มขึ้นโดย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการไปตรวจราชการในจังหวัดต่ าง ๆ พบว่า ในหลายจังหวัดไม่มีการจัดตั้งสถาน ธนานุเคราะห์ (ซึ่งดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์) หรือโรงรับจำนำของเอกชน เหมือนอย่างใน นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเห็นว่ากิจการดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือคนยากจนขัดสน เงิน ได้บรรเทาความเดือดร้อนหรือแก้ขัดโดยไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากเอกชน โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังมีส่วนช่วยควบคุมการรับซื้อของโจรอีกด้วยการดำเนินการจัดตั้งสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลและสุขาภิบาล นอกจากจะมีขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ยังมีที่มาจากมติ คณะรัฐมนตรี และมติที่ประชุมของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดตั้ง เป็นกรณีพิเศษจากการตั้งโรงรับจำนำทั่วไป กล่าวคือ 1) คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2503 ให้กระทรวงมหาดไทยรับเรื่อง การจัดตั้งสถานธนานุเคราะห์ (โรงรับจำนำ) ในต่างจังหวัดไปดำเนินการเพื่อเป็นการช่วยเหลือคน ยากจน จะได้ไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากเอกชนโดยเสียดอกเบี้ยอัตราสูงและยังเป็นประโยชน์ในการ ควบคุมการรับซื้อของโจรอีกประการหนึ่งด้วย และหากกระทรวงมหาดไทยไม่สามารถจัดตั้งขึ้นเองได้ ก็ควรพิจารณาให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนหรือเข้าหุ้นด้วย โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดการและ ดำเนินงาน 2) ในคราวประชุมกระทรวงมหาดไทยครั้งที่ 20/2503 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่าเดิมเทศบาลหลายแห่งก็ได้คิดจะดำเนินการจัดตั้งโรงรับจำนำอยู่แล้ว เนื่องจากเทศบาลเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีงบประมาณของตนเอง สามารถที่จะจัดตั้ง ได้เอง หากมอบหมายให้เทศบาลจัดทำก็จะตรงกับเป้าหมายที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยในขั้นแรกอาจ ให้เทศบาลดำเนินการจัดตั้งเป็นการทดลองที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี และหาดใหญ่ก่อน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3