2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

14 ส่วนระเบียบและวิธีปฏิบัติคงใช้วิธีการที่สถานธนานุเคราะห์ถือปฏิบัติอยู่ แต่อาจจะพิจารณาแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย และได้มีมติดังต่อไปนี้ 2.1) ให้เทศบาลดำเนินการจัดตั้งโรงรับจำนำขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ และ อุดรธานีในปี พ.ศ. 2504 โดยใช้เงินทุนซึ่งกู้จากสันนิบาตเทศบาล และได้รับความร่วมมือในทางหลัก ปฏิบัติจากกรมประชาสงเคราะห์ 2.2) ให้กรมประชาสงเคราะห์ร่วมมือ แนะนำในทางหลักปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการ โรงรับจำนำเพื่อให้เทศบาลได้ดำเนินการในเรื่องนี้ได้ลุล่วงไปด้วยดี 2.3) ให้กรมตำรวจพิจารณาวางระเบียบควบคุมของที่รับจำนำ ตลอดจนบัญชีของหาย ขึ้นไว้ปัจจุบัน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2416 (แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ถึงฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) มาตรา 56(1) บัญญัติให้เทศบาลนคร และมาตรา 53(8) บัญญัติให้เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น มาตรา 51(9) บัญญัติว่าเทศบาลตำบลอาจทำกิจการเทศพาณิชย์ในเขตเทศบาล วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานธนานุบาล 1) เพื่อให้บริการเงินกู้แก่ประชาชนให้มีโอกาสได้นำเงินไปใช้สอยบรรเทาความเดือดร้อน เฉพาะหน้าหรือนำไปลงทุนในกิจการขนาดย่อมได้โดยไม่ต้องไปกู้เงินจากเอกชนซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยใน อัตราสูง 2) เพื่อเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมในท้องตลาดไม่ให้สูงจนเกินไป 3) เพื่อควบคุมการรับซื้อของโจร 4) เพื่อนำเงินผลกำไรจากการดำเนินงานไปทำนุบำรุงและพัฒนาท้องถิ่นโดยไม่ต้องอาศัย งบประมาณ (สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2553) จากแนวคิดการจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการดำเนินการเป็นไปเพื่อ ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมได้มีเงินทุนไปหมุนเวียนในการ เลี้ยงชีพและพยุงธุรกิจขนาดย่อมให้ดำเนินการต่อไปได้ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันสภาพสังคม และ เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่กำกับดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ จะกำหนดนโยบายต่าง ๆ ให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการช่วยเหลือ ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีผล ประกอบการที่ดีเพื่อนำเงินผลกำไรไปทำนุบำรุงและพัฒนาท้องถิ่นต่อไป 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของกิจการพาณิชย์ท้องถิ่นไว้ อาทิ สกลวรรณากร วรวรรณ และคณะ (2547) กล่าวไว้ว่า แท้ที่จริงแล้วการค้าขายทุกอย่างก็เป็นการพาณิชย์ การรับจ้าง ที่ให้ผลประโยชน์แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงหรือทางอ้อมก็สามารถพูดได้ว่าเป็นการ พาณิชย์ ซึ่งสามารถสรุปความให้แคบลงก็คือ การค้าหรือการรับจ้างของเทศบาล ในการเพิ่มรายได้ที่ สามารถนับได้เป็นการแน่นอนก็เป็นกิจการพาณิชย์ท้องถิ่น จรัส สุวรรณมาลา (2537) ที่ให้ทัศนะว่า การดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของท้องถิ่น คือ การที่ท้องถิ่นเลือกดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3