2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

15 เก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการหรือผู้รับบริการและผู้ที่ได้รับประโยชน์ ซึ่งค่าบริการดังกล่าวนี้อาจมี หลายรูปแบบ เช่น ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ตลอดจน โกวิทย์ พวงงาม (2554) ได้มองว่า กิจการ พาณิชย์ท้องถิ่นเป็นรูปแบบหรือโครงสร้างการดำเนินงาน กิจการที่จัดทำขึ้นหรือมีอยู่แล้วในการผลิต สินค้าหรือบริการเพื่อสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น การดำเนินกิจการพาณิชย์ของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น จำเป็นต้องอาศัยหลักการพื้นฐาน 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) กิจกรรมที่ท้องถิ่นสามารถเลือกใช้วิธีการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ซึ่งมักจะ เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตทั่วไปมักจะไม่ผลิตกัน เช่น การเก็บขยะ สนามกีฬา โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น 2) ทางเลือกในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของสินค้า และบริการ สาธารณะแต่ละประเภท และ 3) ค่าบริการ (User charges) หมายถึง รายได้จากการจำหน่ายสินค้า และบริการที่รัฐจัดหาจำหน่ายให้แก่ผู้รับบริการ (จรัส สุวรรณมาลา, 2537) จากความเห็นของนักวิชาการหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของกิจพาณิชย์ของท้องถิ่นไว้นั้น พอสรุปได้ว่า กิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น หมายถึง การดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการประชาชนโดยเก็บค่าบริการ เพื่อนำเงินไปบำรุงท้องถิ่น ฉะนั้นเห็นได้ว่าการ ดำเนินงานของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มี รายได้น้อย และสามารถนำผลกำไลจากการดำเนินงานส่วนหนึ่งมาบูรณท้องถิ่น สถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเข้าองค์ประกอบของการเป็นกิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น 2.6 ทฤษฎีว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ปัจจุบันการขายทอดตลาดได้ถูกนำมาใช้หลากหลายวัตถุประสงค์ไม่ว่าจะเป็นการประมูล สิ่งของต่าง ๆ การประมูลคลื่นความถี่ของโทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่นอกจากนี้ รวมถึงการบังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การขาย ทอดตลาดนั้นจะมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนกับการซื้อทรัพย์สินจากผู้ขายเสมือนกับว่าผู้เข้าสู้ราคา กำลังแข่งขันกันอยู่ ในทางเศรษฐศาสตร์จึงได้มีการจำแนกทฤษฎีการขายทอดตลาด ซึ่งสามารถ นำมาใช้กับการขายทรัพย์สิ่งเดียวหรือหลายสิ่งร่วมกัน (รศวุฒิ วุฒิ, 2557) โดยการขายทอดตลาดนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการยื่นซองประกวดราคา ( Sealed Bid Auction) รูปแบบอังกฤษ (English Auction) หรือรูปแบบวิลันดา (Dutch Auction) นอกจากนี้การ ขายทอดตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมายังสามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่ เรียกว่า Electronic Reverse Auction หรือ E – Auction ได้ด้วย (วันดี เอื้อสกุลพิพัฒน์, 2550) โดยรายละเอียดของรูปแบบการขายทอดตลาดในแต่ละแบบนั้น มีดังต่อไปนี้ 1) การขายทอดตลาดแบบยื่นซองประกวดราคา (Sealed Bid Auction) การขายทอดตลาดแบบยื่นซองประกวดราคามีขั้นตอนและวิธีการดังนี้ คือ ผู้ทอดตลาด จะประกาศโฆษณาการขายทอดตลาดนั้นให้แก่บุคคลทั่วไป โดยหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งของการ ขายทอดตลาดแบบยื่นซองประกวดราคา คือ ผู้ที่ประสงค์จะซื้อทรัพย์สินจะต้องยื่นซองปิดผนึกที่ระบุ ราคาที่ตนเสนอต่อผู้ทอดตลาด ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะซื้อทรัพย์สินนั้นจะสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้ง เดียว ในการขายทอดตลาดแบบยื่นซองประกวดราคาส่วนมากจะมีการกำหนดราคาขั้นต่ำของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3