2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
17 ขายทอดตลาดแบบวิลันดาจะใช้กับการขายทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่า 1 ชิ้นให้แก่ผู้ซื้อ ทรัพย์สินที่มีจำนวนมากกว่า 1 คน ซึ่งแทนที่ผู้ทอดตลาดจะต้องระบุรายการทรัพย์สินแต่ละชิ้นซึ่งเป็น ชนิดเดียวกัน ผู้ทอดตลาดก็สามารถระบุรายการทรัพย์สินชนิดหนึ่งพร้อมแจ้งจำนวนชิ้นของทรัพย์สิน ชนิดนั้นด้วย และผู้ตอบรับราคาก็จะเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นหนึ่งหรือหลายชิ้นในการขายทอดตลาดนั้น ราคาของผู้ตอบรับราคาทรัพย์สินชิ้นหนึ่งที่ต่ำที่สุดจะกลายเป็นราคาสำหรับการขายทอดตลาด ทรัพย์สินชิ้นอื่น ๆ ด้วย (วันดี เอื้อสกุลพิพัฒน์, 2550) แต่การขายทอดตลาดแบบวิลันดานี้ไม่เป็นที่ นิยม (วิกรม เมาลานนท์, 2516) 4 ) การขายทอดตล าดท างสื่ออิ เล็กท รอนิกส์ ( Electronic Reverse Auction ห รือ E. Auction) ด้วยเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันทำให้รูปแบบและวิธีการในการติดต่อสื่อสาร พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อในอดีตทั้งในแง่ของรูปแบบและวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchangeหรือ EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ทำในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Data Message) โดยมิได้ทำลงในกระดาษเช่นเดิม (Traditional Paper-Based Documents) และ ในการทำสัญญาระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในปัจจุบันก็อาศัยการติดต่อสื่อสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังกล่าว ซึ่งเป็นการทำสัญญาในรูปแบบและวิธีการใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นด้วยเช่นกัน (วันดี เอื้อสกุลพิพัฒน์, 2550) ในต่างประเทศได้ออกกฎหมายเพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Legal Recognition of Data Message) ที่ ได้ จ าก เท ค โน โลยี ในก ารติดต่อสื่ อส า รท างสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายแม่แบบว่าด้วยธุรกรรมที่เกี่ยวกับ คอมพิว เตอร์ (Uniform Computer Information Transactions Act (UCITA)) และบทแก้ ไข เพิ่มเติมมาตรา 2 ของประมวลกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการพาณิชย์ (Proposed Amendments to Uniform Commercial Code Article 2 ในขณะที่ประเทศอังกฤษมีข้อบังคับว่าด้วยพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ. 2002 (Electronic Commerce (EC Directive) Regulations 2002) ส่วน สหภาพยุโรปก็มีกฎหมายของสหภาพยุโรปว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ 2000/31/ EC (EC Directive 2 0 0 0 /3 1 / EC of The European Parliament and of The Council on "Certain Legal Aspects of Information Society Services, in Particular Electronic Commerce, in The Intermit Market" (Directive on Electronic Commerce) ที่รับรองความมีผลทางกฎหมาย ของการแสดงเจตนาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยก็มีพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่รับรองความมีผลทางกฎหมายของการแสดงเจตนาทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นี้ได้ยกร่างขึ้น ตามแนวทางกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce 1996) และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001)ของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law หรือ UNCITRAL) (ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ และคณะ, 2545)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3