2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
20 2.7 หลักการขอจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตจัดตั้งสถาน ธนานุบาลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ โดยมีกรอบแนวทาง สาระสำคัญ ดังนี้ 1) การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะขออนุญาตจัดตั้งสถานธนานุบาล จะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นไปได้อย่างรอบด้าน ทั้งในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับและข้อจำกัด เสนอต่อสภาท้องถิ่นเพื่อ พิจารณาตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ความพร้อมของสภาพเศรษฐกิจ สังคม จำนวนประชากรจริง ประชากรแฝง แนวโน้ม ความเจริญก้าวหน้าของชุมชนในอนาคตและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ (2) ฐานะทางด้านการคลังของท้องถิ่นจะต้องมั่นคง เนื่องจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ จะเกิดขึ้นในการจัดตั้งสถานธนานุบาลในทุกด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการจัดซื้อที่ดิน อาคารสถานที่ตั้ง สถานธนานุบาลหรือค่าก่อสร้างอาคารสถานธนานุบาล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง สนับสนุนงบประมาณในการจัดหาที่ดิน อาคารสถานธนานุบาล ค่าครุภัณฑ์ ค่าติดตั้งระบบ คอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินทุน หมุนเวียนในระยะเริ่มแรก โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการจัดตั้งสถานธนานุบาลในระยะเริ่มแรกทั้งหมด ห้ามมิให้ผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปเป็น หนี้สินของสถานธนานุบาล (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีรายได้หรือเงินสะสม เพื่อให้สถานธนานุบาลที่จะที่ จะจัดตั้งขึ้นใหม่ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการในระยะเริ่มแรกไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ทั้งนี้ หากเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินกู้ ห้ามมิให้ผลักภาระไปเป็นหนี้สินของ สถานธนานุบาลและจะต้องจัดหาแหล่งเงินทุนสำรองเพื่อรองรับในกรณีที่เงินทุนหมุนเวียนในการ ดำเนินกิจการไม่เพียงพออีกไม่ต่ำกว่า 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) เช่น การขอเบิกเงินเกิน บัญชี (OD) จากธนาคาร โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ค้ำประกัน หรือใช้เงินสะสมขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นค้ำประกัน (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กับสถานธนานุบาลให้ เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ โดยมิให้เกิดปัญหาการขาดเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว (5) ศักยภาพในการรับภาระการขาดทุนในระยะเริ่มต้นของการดำเนินกิจการ (6) ความพร้อมของอาคารสถานที่และที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งอาคารสถานธนานุบาลต้องอยู่ใน แหล่งชุมชนหนาแน่นที่เป็นย่านธุรกิจการค้าและเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หาก เป็นที่ราชพัสดุหรือที่ดินสาธารณประโยชน์จะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินนั้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องแล้วกรณีการเช่าที่ราชพัสดุพร้อมอาคารสถานที่ (ถ้ามี) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง รับภาระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น 1 ในการเช่าแทนสถานธนานุบาลไม่น้อยกว่า 5 ปีด้วย (7) อาคารสถานธนานุบาลจะต้องเป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 300 ตารางเมตร และมีหลักฐานว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกรรมสิทธิ์ หรือมีสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร หรือ สัญญาเช่ากรณีทำสัญญาเช่าที่ราชพัสดุกับกรมธนารักษ์ (รายละเอียดตามข้อแนะนำแนบท้าย)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3