2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

21 2) ขั้นตอนของจังหวัดหรืออำเภอในการพิจารณา ให้จังหวัด อำเภอ โดยสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด/อำเภอ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือในการวิเคราะห์และพิจารณากลั่นกรองการขอจัดตั้งสถาน ธนานุบาลอย่างละเอียดรอบคอบ แล้วรายงานการขอจัดตั้งสถานธนานุบาลพร้อมความเห็นของ จังหวัดและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอคณะกรรมการควบคุม โรงรับจำนำพิจารณา ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน 3) การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้ตรวจการสถานธนานุบาลประจำภาคหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการจัดการ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมในการขอ จัดตั้งสถานธนานุบาล เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ในด้านความเหมาะสมใน เชิงการลงทุน ประโยชน์ที่ประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับ และผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของ สถานธนานุบาลใกล้เคียงที่จัดตั้งไว้แล้วด้วย (กระทรวงมหาดไทย, 2548) 2.8 หลักการจัดการบริการสาธารณะที่ดี การบริการสาธารณะที่ดีควรจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงมิติที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำมา เป็นหลักการพิจารณาว่าการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1) ความเหมาะสมของประเภทบริการสาธารณะ ในทางหลักการการจัดบริการสาธารณะของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรยึดหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่น (General Competence) ที่ควรให้บริการสาธารณะทุกประเภทเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า มีบริการสาธารณะบางลักษณะไม่ควรเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ควรเป็นหน้าที่ขององค์กรอื่น เช่น รัฐบาลกลางหรือภาคเอกชนที่อาจมีความเหมาะสมและความ พร้อมในการจัดบริการสาธารณะบางประเภท 2) ระดับการหาผลประโยชน์และการแสวงหากำไร โดยทั่วไปการหาผลประโยชน์และผลกำไร จากการจัดทำบริการสาธารณะทุกประเภทสามารถทำได้เนื่องจากจะช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้และผล กำไรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้และเพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะในอนาคต เป็นบริการสาธารณะ ที่สร้างผลประโยชน์แก่ท้องถิ่น และต้องนำผลกำไรที่ได้ไปใช้ในการจัดบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือนำส่งเข้าเป็นรายได้ของท้องถิ่น 3) บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของบริการสาธารณะ เนื่องจากการจัดทำบริการสาธารณะประเภท ใดก็ตามต้องคำนึงเสมอว่าใครคือบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของการจัดทำบริการสาธารณะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3