2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

22 4) ความสอดคล้องระหว่างประเภทของบริการสาธารณะและรูปแบบบริการสาธารณะ ใน ประเด็นนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องพิจารณาว่าควรเลือกใช้รูปแบบการว่าจ้าง (Out Sourcing) การร่วมมือระห ว่ างภ าครัฐและภ าค เอกชน ( Public-Private Partnership - PPP) สหการ (Co-operative) และกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม (Local Pubic Enterprise and Social Enterprise) ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดอำนาจหน้าที่ในกฎหมายว่ า กำหนดให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบใดได้บ้าง (วุฒิสาร ตันไชย และ เอกวีร์ มีสุข, 2558) การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งสถานธนานุบาลได้นั้น จะต้อง ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นไปได้อย่างรอบด้าน ทั้งในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนถิ่น การจัดตั้งสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อดำเนินงานแล้วมีผลกำไรจะต้องนำผลกำไรส่วนหนึ่งมาเพื่อบำรุง ท้องถิ่นต่อไป การจัดตั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก และการดำเนินงานสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นเป็นการดำเนินงานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงไม่ได้มีการร่วมทุนกับภาคเอกชนแต่ อย่างใด เห็นได้ว่าการดำเนินสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นไปตามหลักการ จัดการบริการสาธารณะที่ดี กล่าวโดยสรุปองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจึงมีศักยภาพที่จะจัดบริการสาธารณะได้อย่าง กว้างขวางและมีอิสระในการเลือกประเภทและรูปแบบ ตามหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่น (General Competence) และปฏิบัติตามหลักการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นที่ดี 2.9 หลักการให้บริการประชาชน รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลประชาชนทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยความความเสมอภาคและเท่าเทียม การที่รัฐจัดให้มีการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ ตรงตามความต้องการของ ประชาชน ต้องคำนึงถึงหลักการให้บริการประชาชน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตรงตาม เจตนารมณ์ของประชาชนในสังคมท้องถิ่นต่าง ๆ ราชบัณฑิตยสถาน (2546) ให้ความหมายของการให้บริการประชาชนไว้ว่า การปฏิบัติรับใช้ให้ ความสะดวกต่าง ๆ เป็นกระบวนการหรือกระบวนการกิจกรรมในการส่งมอบบริการจากผู้ให้บริการไป ยังผู้รับบริการนั้น ๆ นิติยา พงษ์พานิช (2536) กล่าวว่า การให้บริการประชาชนถือเป็นการรับใช้ประชาชนอำนวย ความสะดวกและช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชน ซึ่งการให้บริการประชาชนถือเป็นหน้าที่ของข้าราชการ ทุกคนที่จะต้องบริการ ให้ประชาชนได้รับความพอใจมากที่สุด ทั้งนี้การให้บริการ โดยรัฐบาลแก่ ประชาชนเป็นการบริการในลักษณะที่เรียกว่า "การบริการสาธารณะ" กล่าวคือ เป็นกิจกรรมหรือ กิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่ จัดขึ้น เพื่อสนองความต้องการของประชาชนจะต้อง สามารถสนองความต้องการของประชาชนให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3