2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

23 บรรจง กาญจนาดุล (2523) กล่าวว่า การให้บริการประชาชนคือการที่องค์การราชการได้อำนวย ความสะดวก ช่วยเหลือเกื้อกูลให้กับคนในสังคมหรือเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวมของ ประชาชน วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์ (2539) ได้กล่าวว่าการบริการ หมายถึง การช่วยเหลือเกื้อกูล และให้ ความสะดวกต่าง ๆ แก่สู้รับบริการ ไม่ได้เป็นการปฏิบัติรับใช้เหมือนเจ้านายกับลูกน้อง แต่เป็นการ อำนวยความสะดวกให้สู้รับบริการเหมือนกับมิตร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การบริการเป็นกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่ได้ผลิตผลออกมาไปรูปของเวลา สถานที่ สิ่งที่เอื้ออำนวย เป็นสิ่งที่จับ สัมผัส แตะต้อง ได้ยาก และเป็นสิ่งที่เสื่อมสูญสลายได้ง่าย ซึ่งการบริการจะได้กระทำขึ้นจากผู้ให้บริการและจะส่งมอบ ถึงผู้รับบริการ โดยทันที หรือในเวลาเกือบจะทันทีที่มีการให้บริการนั้น สุดจิด จันทรประทิน (2535) กล่าวว่า การให้บริการประชาชนมีเป้าหมายที่จะตอบสนองต่อ ความต้องการของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการและความเท่าเทียมจาก การมารับบริการเป็นสำคัญโดย John D. Millet ได้กล่าวถึงหลักการให้บริหารว่าควรพิจารณาใน 5 ประการคือ การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การให้บริการอย่างรวดเร็วทันต่อเวลา การให้บริการ อย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า ในขณะที่ กุลธน พงศธร (2530) ได้กล่าวถึงหลักการให้บริการว่าให้พิจารณาหลักการดังนี้ 1. หลักความสอคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ กล่าวคือ ประโยชน์และบริการที่ องค์การให้นั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของบุคคลส่วนใหญ่ มิใช่เป็นการจัดให้แก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะ 2. หลักความสม่ำเสมอ กล่าวคือ การให้บริการนั้น ๆ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำ ๆ หยุด ๆ ตามความพอใจของผู้ปฏิบัติงาน 3. หลักความเสมอภาค บริการที่จัดนั้นจะต้องจัดให้สู้มาใช้บริการทุกคนทั่วหน้าและเท่าเทียม กัน ไม่มีการใช้สิทธิพิเศษแก่บุคคลหรือกลุ่มใด ในลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มคนอื่นๆ 4. หลักความประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริการจะต้องไม่มากเกินกว่าผลที่จะได้รับ 5. หลักความสะดวก บริการที่จะจัดให้แก่ผู้รับบริการจะต้องเป็นไปในลักษณะปฏิบัติได้ง่าย สะดวกสบาย สิ้นเปลืองทรัพยากรไม่มาก ทั้งขังไม่เป็นการสร้างสภาวะยุ่งยากใจให้แก่ผู้รับบริการ นอกจากนี้ Elihu and Brenda Danet (1973) ได้กล่าวถึงหลักพื้นฐานการให้บริการ ของรัฐไว้ 3 ประการคือ (อ้างใน สุดจิต จันทรประทิน, 2535) 1. การติดต่อเฉพาะงาน เป็นหลักการที่ต้องการให้บทบาทของประชาชนและเจ้าหน้าที่อยู่ใน วงจำกัด เพื่อครอบคลุมให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์และทำได้ง่าย 2. การปฏิบัติโดยเสมอภาคเท่าเทียม การที่เข้าหน้าที่ให้บริการตามระเบียบกฎเกณฑ์ตามลำดับ ก่อนหลังไม่เลือกปฏิบัติ 3. การวางตนเป็นกลาง หมายถึง การให้บริการโดยไม่มีอารมณ์ ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้บริการโดยไม่คำนึงถึงความเป็นญาติ เพื่อนหรือคนรู้จัก นอกจากนี้ เชิดศักดิ์ ชูศรี (2536) ได้เสนอบทความเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนแบบเชิงรุก โดยกล่าวถึงสิ่งที่จะต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการประชาชน 5 ประการ คือ ถูกต้องตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3