2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

24 กฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ครบถ้วนสมบูรณ์ รวดเร็ว เป็นธรรม เสมอภาค เต็มใจ และจริงใจ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการสินเชื่อแก่ ประชาชนในท้องถิ่นโดยวิธีการรับจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 การดำเนินการ ของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยใน ท้องถิ่น การให้บริการสินเชื่อแก่ประชาชนในท้องถิ่นในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินต่าง ๆ ของสถานธนานุบาลจึงตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก จากความเห็นของหลายท่านกล่าวโดยสรุปได้ว่า การบริการประชาชน หมายถึง การที่หน่วยงาน ราชการ ได้อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือเกื้อกูลคนในสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนให้ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด 2.10 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 ภายใต้การดำเนินงานของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการบริหาร จัดการ ภาครัฐซึ่งเป็นการพัฒนาทุนทางสถาบันของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถตอบสนอง ต่อความต้องการ ของภาคส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อาทิ การปรับปรุงกระบวนงานและรูปแบบการ ให้บริการสาธารณะในรูปแบบ ดิจิทัล การพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานภาครัฐ ทั้งนี้ ยังพบว่าประเทศ ไทยมีความโดดเด่นในการพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจ โดยในปี 2563 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนี รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากองค์การสหประชาชาติ ให้อยู่ในอันดับที่ 57 จากทั้งหมด 193 ประเทศ ดีขึ้น จากอันดับที่ 77 ในปี 2559 โดยบริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาการบริหารจัดการ ภาครัฐเพื่อส่งเสริมทุนทางสถาบันของประเทศไทยในระยะเวลา ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จึงอยู่ที่ การยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐ ให้สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ โดยเร่ง ปรับตัวให้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม มีการ เชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นได้อย่างมีบูรณาการ และมีธรรมาภิบาล เพื่อรักษาเสถียรภาพทาง สังคม และฟื้นฟูความเชื่อมั่นในรัฐ เป็นการเสริมสร้างทุนทางสถาบันของประเทศ ซึ่งการปฏิรูปภาครัฐ เป็นประเด็น ท้าทายที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่คนในสังคมส่วนใหญ่ มีความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ภาครัฐจึงต้องเร่งพัฒนากลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการ เปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ร่วมกับ การใช้ข้อมูลและกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบาย สาธารณะและการกำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับ สภาวการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปได้อย่างฉับไว เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถของประเทศในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยภาครัฐต้องทบทวนบทบาทและ กระบวนการทำงาน เน้นการพัฒนาสมรรถนะให้ยืดหยุ่นคล่องตัว เชื่อมโยง และเปิดกว้าง ควบคู่กับ การพัฒนาข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึงได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3