2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
25 อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด เพื่อให้สามารถให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพได้อย่าง มี ประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเท่าทันต่อความต้องการและความคาดหวัง ของ ประชาชนและทุกภาคส่วน ซึ่งต้องมีการปรับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญ กับการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐแบบดิจิทัล รวมถึงยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย หมดความจำเป็น พร้อมกับการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้ เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และ ตอบโจทย์ประชาชน สามารถเป็นปัจจัย ผลักดันการพลิกโฉมประเทศได้อย่างแท้จริง โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 ได้กำหนดแผน กลยุทธ์รายหมุดหมายที่สำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการภาครัฐ คือ หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน กล่าวคือ ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อลดช่องว่างของการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพที่เหมาะสม ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศบนหลักการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและ การแสวงหา ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศ โดยมี ประเด็นที่ต้องดำเนินการ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและเสริมสร้างความสามารถของ ภาครัฐ ประกอบด้วย 1) พัฒนาการให้บริการ ภาครัฐที่ตอบโจทย์ สะดวก ประหยัด แก่ประชาชนและ ผู้ประกอบการ โดยพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นโรงรับจำนำของรัฐ จำเป็นต้องมีการพัฒนาการ ให้บริการประชาชนโดยคำนึงถึงความประหยัด และความสะดวกของประชาชน 2) ปรับเปลี่ยนการ บริหารจัดการและโครงสร้างของภาครัฐ ให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้าง และมีประสิทธิภาพเพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องพัฒนาระเบียบในเรื่องโครงสร้างการบริหารหน่วยงานที่เป็นอุปสรรคต่อการให้ดำเนินงานของ สถานธนานุบาลเพื่อให้เท่าทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 3) ปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ใช้ ข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศ และสร้างระบบบริหารจัดการ สถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานให้ สอดคล้องกับแนวคิดรัฐบาลดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นประโยชน์มาใช้กับการดำเนินงานของ สถานธนานุบาล และ 4) การสร้างระบบบริหารภาครัฐที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากร ให้มี ทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัล โดยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้มีทักษะในการให้บริการประชาชนใน รูปแบบดิจิทัล และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ โดย สถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีแผนพัฒนากฎหมาย และระเบียบต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการรับจำนำ ให้สอดคล้องคล้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จำนวน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและ ความเป็นธรรม โดยมีบริการสาธารณะทั่วถึง เท่าเทียม และ เป้าหมายที่ 4) การเสริมสร้าง ความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570, 2565)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3