2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
27 ภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรัฐในการบริการประชาชน มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น เป้าหมาย 1) ภาครัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ 2) ภาครัฐดำเนินการ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง 3) ภาครัฐมีกระบวนการ ทำงานที่เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 4) มีชุดเทคโนโลยีและบริการกลางที่มีมาตรฐาน สำหรับการ ให้บริการของรัฐ และ 5) บุคลากรรัฐได้รับการอบรมและมีทักษะด้านดิจิทัลอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง มาตรการ 1) กำหนดมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อ เป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งระหว่างหน่วยงานรัฐต่อรัฐ และรัฐต่อเอกชน และสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ ( Interoperability) ให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ 2) พัฒนาข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูล การบูรณาการข้อมูล และส่งเสริมการใช้งาน ข้อมูล Big Data เพื่อจัดทำนโยบายเร่งพัฒนาข้อมูลภาครัฐให้พร้อมต่อการใช้ประโยชน์อันจะช่วย สนับสนุน การตัดสินใจเชิงนโยบาย การดำเนินงาน การกำกับติดตาม การบริหารจัดการ และการ บริการภาครัฐให้เป็นไปบนพื้นฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ 3) จัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐผ่านศูนย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ ลดการขอข้อมูลซ้ำซ้อน และไม่ต้องใช้ เอกสารรูปแบบกระดาษ 4) พัฒนาแพลตฟอร์มกลางและโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐให้ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง (Seamless)โดยจัดให้มีแพลตฟอร์มการจัดการบริการแบบบูรณาการ และบริการดิจิทัลภาครัฐที่มีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความมั่นคง ปลอดภัยและ น่าเชื่อถือ ทำงานได้ราบรื่นและสอดคล้องกับความจำเป็น ความต้องการพื้นฐานของประชาชน ชุมชน และภาคธุรกิจบน Government Cloud Service หรือ Public Cloud ในอนาคต โดยหน่วยงาน ส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมบัญชีกลาง สำนักงาน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 5) การสร้างชุดบริการด้านดิจิทัลทั่วไปสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เร่งพัฒนาชุดบริการหรือแอป พลิเคชันสนับสนุนกลางในรูปแบบMicroservice เพื่อหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนำไปปรับใช้ต่อได้ โดยง่าย เช่น ระบบพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้านดิจิทัล (Digital ID) ระบบลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กลาง เพื่อรับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ ระบบการแจ้งเตือนข่าวสารหรือสิทธิสวัสดิการของประชาชน ระบบชำระ เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ระบบสนับสนุนการให้บริการผ่านระบบดิจิทัล (Digital Service
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3