2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

28 Microservices) ระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Saraban as a Service) ระบบสื่อสารแบบรวมศูนย์ (Unified Communication) เป็นต้น รวมถึงพัฒนามาตรฐานที่ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริการและบริหารจัดการภาครัฐที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมการปกครอง กรมบัญชีกลาง สำนักงาน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 6) ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน ลด ละ เลิกการขอสำเนาเอกสารจากประชาชน (Re-Engineering Process และ Digitalize Process) ใช้การปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานของ รัฐบาล (Government Process Re-engineering) ที่ให้หน่วยงานรัฐสำรวจกระบวนการทำงานและ ให้บริการในปัจจุบัน เพื่อระบุปัญหาหรือกระบวนงานที่ไม่จำเป็น จากนั้นจึงพิจารณาลดทอนขั้นตอนที่ ไม่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับกระบวนงานที่ทำซ้ำ และการลด กระบวนงานด้านเอกสารต่างๆ ที่สามารถใช้ข้อมูลดิจิทัลแทน หรือการปรับทัศนคติในการทำงานของ บุคลากรทุกระดับ เพื่อให้มีการขอข้อมูลจากประชาชนเพียงครั้งเดียว (Once Only Principle) 7) ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการที่เอื้อต่อการพัฒนารัฐบาล ดิจิทัล โดยการทบทวนกฎหมายกฎระเบียบ มาตรการที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานใน อนาคต พัฒนากฎระเบียบใหม่ให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปรวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคใน ปัจจุบัน เพื่อพิจารณาความจำเป็นทางกฎหมายและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงศึกษาแนว ทางการปฏิบัติที่ใช้ในต่างประเทศ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการให้สอดคล้องกับบริบท ปัจจุบัน หรือการจัดการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ต้องหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อ เข้าใจกฎระเบียบ ประเด็นปัญหาและผลกระทบ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง พร้อมทำการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น 8) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัล และวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ โดยจัดให้มีหลักสูตรและแนวทางกลางสำหรับการพัฒนาและยกระดับทักษะดิจิทัลข้าราชการและ บุคลากรภาครัฐของทุกหน่วยงาน และหลักสูตรสำหรับพัฒนาทักษะดิจิทัลใหม่ๆ ตามทิศทาง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านดิจิทัล รวมถึงจัดให้มีเครื่องมือสนับสนุนการยกระดับ ทักษะดิจิทัลข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ และบริหารจัดการในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาทักษะผู้นำด้านดิจิทัลให้กับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงให้มีวิสัยทัศน์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนา รัฐบาลดิจิทัล อีกด้วย 9) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดให้มีต้นแบบการ พัฒนา Digital Government Testbed Framework เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ แบ่งปันแนวคิดและพัฒนานวัตกรรมการบริการรัฐบาลดิจิทัลให้ภาครัฐ ตามความเหมาะสมของ โครงการที่เอกชนเสนอ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 มีการพัฒนาใน 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการพื้นฐาน (Common Services) และโครงสร้างพื้นฐาน (Foundation) ที่ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3