2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
29 ทำงานของแต่ละหน่วยงานอย่างไร้รอยต่อ ยกระดับบุคลากรภาครัฐ ให้มีทักษะการทำงานดิจิทัลที่ สอดคล้องกับบริบทโลกในการปฏิบัติงาน และให้บริการประชาชนที่สะดวกรวดเร็ว และแม่นยำ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย เป้าหมาย 1) ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ได้อย่าง ครบถ้วน ณ จุดเดียว (One-Stop Service) 2) ประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศสามารถเข้าถึงและใช้ บริการดิจิทัลภาครัฐได้ มาตรการ 1) พัฒนาและปรับปรุงบริการภาครัฐให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ (Online Service) โดยยึด หลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) ที่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ได้ง่าย (Equality) เน้นการพัฒนาบริการ/แพลตฟอร์มภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับ บริการหรือสิทธิที่พึงได้อย่างเท่าเทียมและยุติธรรมโดยเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลและความ ต้องการของผู้ใช้บริการให้ครบถ้วน จัดลำดับความสำคัญของบริการ และพัฒนา/ปรับปรุงหรือจัดให้มี บริการ (ตามลำดับความสำคัญ) ที่ประชาชนสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และสร้างความเชื่อมั่นแก่ ผู้ใช้บริการว่าจะได้รับคุณภาพการบริการที่เท่ากันในทุกช่องทางที่รับบริการ โดยอย่างน้อยต้อง ปรับเปลี่ยนบริการให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ (Online Service) ผ่านช่องทางที่เข้าถึงและใช้งานง่าย เหมาะกับผู้ใช้งานในกลุ่มเป้าหมาย มีความสะดวกในการรับบริการทุกที่ทุกเวลา และไม่ต้องใช้เอกสาร รูปแบบกระดาษ (Paperless) 2) พัฒนาการให้บริการดิจิทัลครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) หน่วยงานภาครัฐพัฒนา/ปรับปรุงหรือยกระดับบริการออนไลน์ให้สามารถให้บริการได้ตลอดทั้ง กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ (End-to-End Process) ที่ประชาชนสามารถใช้บริการได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ เวลา พื้นที่ และสามารถ ตรวจสอบติดตามสถานะการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการได้ โดยมีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างราบรื่นแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว 3) สร้างแพลตฟอร์มการจัดบริการแบบบูรณาการและบริการดิจิทัลภาครัฐ จัดให้มี แพลตฟอร์มบริการดิจิทัลภาครัฐที่ตรงความต้องการของผู้ใช้ (User-Driven) และมีคุณภาพ แบบ เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) ในด้านสำคัญ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและ รับบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ตลอดเวลา โดยเปิดให้หน่วยงานและภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพัฒนา จัดบริการที่มีความมั่นคงปลอดภัย มีการรักษาความเป็นส่วนบุคคลและ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 4) พัฒนาบริการที่เฉพาะเจาะจงรายบุคคล (Personalized Service Delivery) โดยไม่ต้อง ร้องขอ ภาครัฐยกระดับการพัฒนาบริการที่ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้บริการ (user experience) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาบริการที่ตอบสนองต่อผู้ใช้งานอย่างแม่นยำ สอดคล้องกับ สิทธิของประชาชนที่มีอยู่ โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องร้องขอหรือยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3