2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
30 5) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลภาครัฐเพื่อยกระดับบริการดิจิทัล ( Innovative Services/Platform) พัฒนาการให้บริการรัฐโดยการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ เริ่มต้นจบกระบวนการ ทำให้เกิดการให้บริการดิจิทัลที่มีมาตรฐานรวดเร็ว โปร่งใส ปลอดภัย มี ธรรมาภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึง การสนับสนุนให้มีการวิจัยเฉพาะทางหรือพัฒนา นวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านบริการสาธารณะดิจิทัลที่มีความครอบคลุม (Inclusiveness) และเท่าเทียม โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและผู้สูงอายุ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีความเกี่ยวข้องและจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการจากทุก หน่วยงานภาครัฐที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและยกระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อน ของประเทศ จึงไม่ใช่เป็นเพียงการพัฒนาหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่จำเป็นต้องอาศัยความ ร่วมมือจากทุกหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาและขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในทิศทาง เดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม ให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และมีมาตรฐานทัดเทียมกับ นานาประเทศ (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), 2566) สรุปได้ว่าการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดำเนินงานสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 โดยการ บริการประชาชนนั้นต้องนำระบบดิจิทัลมาปรับใช้ให้เกินประโยชน์ในการดำเนินงาน ให้เกิดคล่องตัว รวดเร็วถูกต้องแม่นยำ และต้องมีการพัฒนาให้บริการประชาชนให้ประชาชนได้รับความสะดวกและ เข้าถึงการบริการได้ง่าย 2.12 กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงรับจำนำเป็นสถานให้บริการสินเชื่อโดยการประกันหนี้ด้วยทรัพย์โดยวิธีการรับจำนำ การดำเนินกิจการโรงรับจำนำมีอยู่ในหลายประเทศ มีรูปแบบโครงสร้างการกับดูแล กระบวนการรับ จำนำและกระบวนการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยในงานวิจัยฉบับนี้ เลือกศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงรับจำนำ 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐโอเรกอน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 2.12.1 ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำนำกับโรงรับจำนำของสหพันธรัฐมาเลเซีย คือ พระราชบัญญัติ Pawnbroker Act 1972 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี AD 2006 โดยสามารถ สรุปสาระสำคัญ ได้ 3 หัวข้อ คือ 1 ) โครงสร้างการกำกับดูแล 2 ) กระบวนการรับจำนำ 3) กระบวนการจำหน่ายทรัพย์หลุด ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1) โครงสร้างการกำกับดูแล การกำกับดูแล เป็นหน้าที่กระทรวงการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ( KPKT) (Ministry of Local Government Development of Malaysia, 2021) รั ฐ ม น ต รี กระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน นายทะเบียน (Registrar) รักษาการแทนนายทะเบียน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3