2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

31 (Deputy Registra) ผู้ตรวจ (Inspector) และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่บังคับใช้ระเบียบและ ข้อบังคับภายใต้กฎหมายฉบับนี้ 2) กระบวนการรับจำนำ ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องจัดทำบันทึกข้อมูลการรับจำนำ ลักษณะของทรัพย์จำนำชื่อ และที่อยู่ของผู้จำนำ และออกตั๋วรับจำนำ ซึ่งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้จำนำตามรูปแบบที่ทางการ กำหนด ผู้จำนำจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้รับจำนำ ชั่วโมงเปิดทำการ: 8.00 น. – 18.00 น. ข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้จำนำ: อายุมากกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในภาวะมึนเมา หรือมีสภาวะ จิตใจไม่มั่นคง ห้ามผู้รับจำนำรับทรัพย์จำนำที่มีเครื่องหมายทรัพย์สินของรัฐบาลหรือมลรัฐแห่ง สหพันธรัฐมาเลเซียห้ามผู้รับจำนำรับทรัพย์จำนำที่มีสาเหตุเชื่อได้ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาโดย ปราศจากการยินยอมของเจ้าของทรัพย์สิน ห้ามผู้รับจำนำแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์ จำนำ อัตราดอกเบี้ยห้ามโรงรับจำนำคิดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำสูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งกำหนดไว้ว่าห้ามโรงรับจำนำคิดอัตรา ดอกเบี้ยรับจำนำเกินร้อยละ 2 ต่อเดือน (M inisterial Regulations issued under the Pawnbrokers ACT 1972,2004, 2004) การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ: ผู้รับจำนำจะต้องส่งมอบทรัพย์จำนำให้กับผู้ถือตั๋วรับจำนำ ที่มาขอไถ่ถอนทรัพย์จำนำภายในระยะเวลา 6 เดือน และจะต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ไถ่ถอน รวมทั้ง จัดทำบันทึกรายการดังกล่าว การปฏิเสธการส่งมอบทรัพย์จำนำ : กรณีที่ผู้รับจำนำได้รับแจ้งเตือนจาก เจ้าหน้าที่ ตำรวจ เจ้าของทรัพย์สิน เจ้าของตั๋วรับจำนำ หรือบุคคลอื่นใดที่ให้สาเหตุที่เชื่อได้ว่า ทรัพย์จำนำ หรือ ตั๋วรับจำนำได้มาโดยไม่ถูกต้อง ผู้รับจำนำสามารถปฏิเสธการส่งมอบทรัพย์จำนำได้ โดยจะต้อง รายงานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุดทราบทันที และสามารถเก็บทรัพย์จำนำดังกล่าวไว้จนกว่า จะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีตั๋วรับจำนำสูญหาย: หากบุคคลใดแจ้งให้ผู้รับจำนำทราบว่าเป็นเจ้าของตั๋วรับ จำนำแต่ทำตั๋วรับจำนำสูญหาย หรือตั๋วรับจำนำถูกทำลาย หรือตั๋วรับจำนำถูกโจรกรรมไป ผู้รับจำนำ จะต้องบันทึกข้อควรระวังเกี่ยวกับทรัพย์จำนำนั้นเอาไว้ และให้บุคคลดังกล่าวจัดทำบันทึกโดยไม่คิด ค่าธรรมเนียมเอาไว้รวมทั้ง ผู้รับจำนำจะต้องปฏิเสธการไถ่ถอนทรัพย์ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 7 วัน หลังจากมีการแจ้งดังกล่าว กรณีทรัพย์จำนำเสียหายจากสาเหตุอัคคีภัย การละเลยหรือไม่เก็บรักษาอย่าง เหมาะสม หรือถูกโจรกรรม: ผู้รับจำนำจะต้องชดใช้ให้กับผู้จำนำมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของวงเงินรับ จำนำ กรณีที่ผู้จำนำกล่าวหาว่า ทรัพย์จำนำมีมูลค่าลดลงจากเดิม เนื่องการดูแลรักษาของ ผู้รับจำนำไม่เหมาะสม หากมีสาเหตุเชื่อถือได้ รัฐมนตรีสามารถกำหนดให้ผู้รับจำนำจ่ายค่าชดเชยใน จำนวนที่เหมาะสมให้กับผู้จำนำได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3