2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

32 3) กระบวนการจำหน่ายทรัพย์หลุด กรณีผู้จำนำไม่ไถ่ถอนทรัพย์จำนำภายในระยะเวลา 6 เดือน: กรณีที่ทรัพย์หลุด จำนำมีมูลค่าไม่เกิน 200 ริงกิต (1,510 บาท) ให้ทรัพย์หลุดจำนำนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนำ กรณีที่ทรัพย์หลุดจำนำมีมูลค่ามากกว่า 200 ริงกิต (1,510 บาท) ให้ผู้รับจำนำนำทรัพย์นั้นออกขาย ด้วยวิธีการประมูลภายใต้การดูแลของนักประมูลที่ได้รับใบอนุญาต โดยที่ผู้รับจำนำสามารถประมูล ทรัพย์หลุดจำนำนั้นได้ ทั้งนี้ ผู้รับจำนำจะต้องจัดทำรายชื่อทรัพย์ที่นำออกขาย และจัดส่งให้กับนาย ทะเบียนทุกวันแรกของเดือนถัดไป (Laws of Malaysia.Pawnbrokers ACT 1972, 2006) การประมูลทรัพย์หลุดจำนำทุกครั้งให้ดำเนินการภายใน 7 วันแรกของเดือน ณ เวลา และสถานที่ที่นายทะเบียนอนุมัติ ผู้ประมูลจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน ต่อนายทะเบียนและประชาชนทั่วไปในการประมูลแต่ละครั้ง และให้ติดประกาศไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน การประมูลทุกครั้งจะต้องจัดขึ้นในสถานที่เปิดทำการประมูลแก่ประชาชนและกว้างขวางพอที่จะ รองรับผู้ซื้อได้ (Ministerial Regulations issued under the Pawnbrokers ACT 1972,2004, 2004) เห็นได้ว่ากฎหมายของสหพันธรัฐมาเลเซียที่เกี่ยวข้องกับโรงรับจำนำนั้น ได้กำหนดให้กระทรวง การปกครองท้องถิ่นและการเคหะของมาเลเซีย เป็นหน่ายงานที่กำกับดูแล ส่วนการรับจำนำและการ ไถ่ถอนทรัพย์จำนำมีข้อกำหนดต่าง ๆ เข้ามาควบคุมให้การดำเนินกิจการของโรงรับจำนำเป็นไปตาม แบบที่กฎหมายกำหนด 2.12.2 ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับโรงรับจำนำของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ คือ กฎหมาย Presidential Decree No.114 หรือ Pawnshop Regulation Act 1973 โดยสามารถ สรุปสาระสำคัญ ได้ 3 หัวข้อ คือ 1 ) โครงสร้างการกำกับดูแล 2 ) กระบวนการรับจำนำ 3) กระบวนการจำหน่ายทรัพย์หลุด ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1) โครงสร้างการกำกับดูแล ธนาคารกลางแห่งประเทศฟิลิปปินส์ (Bangko Sentral ng Pilipinas: BSP) มี หน้าที่กำกับดูแลโรงรับจำนำ โดยมีอำนาจออกกฎและระเบียบข้อบังคับ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้อำนาจสามารถตรวจเยี่ยมกิจการโรงรับจำนำตามที่จำเป็น และกำหนด บทลงโทษทางปกครอง รวมถึงกำหนดค่าปรับสำหรับการละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับ ของธนาคารกลางแห่งประเทศฟิลิปปินส์ 2) กระบวนการรับจำนำ ประเภทของทรัพย์จำนำ และการไถ่ถอนทรัพย์จำนำทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ยกเว้นอาวุธปืน มีดหรืออาวุธอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย เพดานเงินกู้ หรือวงเงินรับจำนำสูงสุด การปล่อยเงินกู้จากการรับจำนำ (วงเงิน รับจำนำ) จะต้องได้รับความตกลงร่วมกันของทุกฝ่าย โดยที่วงเงินรับจำนำจะต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์จำนำ หากวงเงินรับจำนำมีมูลค่าต่ำกว่าร้อยละ 30 ของ มูลค่าทรัพย์จำนำ ผู้รับจำนำจะต้องระบุหมายเหตุไว้และผู้รับจำนำจะต้องไม่ตีราคาทรัพย์จำนำต่ำเกิน ความเป็นจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้กฎหมายนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3