2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

37 สรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 250 และ มาตรา 58 ให้ความสำคัญต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้อำนาจในการดูแลประชาชนในระดับ ท้องถิ่นให้เข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของประชาชนในการ เข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชน 2.13.2 พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมาย ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการขจัดปัญหาและอุปสรรคทางข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ ประชาชนสามารถยื่นคำขอหรือติดต่อใด ๆ กับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมตลอดทั้ง การติดต่อราชการระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน สามารถทำโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนสามารถยื่นคำขอใด ๆ ส่งหนังสือ เอกสาร รายงาน หรือข้อมูล ตลอดจน จ่ายเงินแก่หน่วยงานของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานของ รัฐประกาศกำหนดได้ เช่น ทางอีเมล เว็บไซต์ แอปพลิเคชันติดต่อสื่อสาร หรือผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์อื่นใด โดยให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ว่ากฎหมายหรือ กฎระเบียบเฉพาะเรื่องจะกำหนดไว้แตกต่างหรือขัดแย้งอย่างใดหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 7) ทั้งนี้ หาก หน่วยงานใดมิได้ประกาศกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อหน่วยงานนั้น ประชาชนมีสิทธิที่ จะติดต่อ ส่งหรือยื่นเรื่องผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่หน่วยงานนั้นใช้อยู่เพื่อติดต่อหน่วยงานนั้น ได้ โดยถือว่าเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว (มาตรา 20 วรรคสอง) รัฐมีหน้าที่จัดให้มี ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถยื่นคำขอส่งเอกสาร หรือติดต่อราชการ ใด ๆ ได้และประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เช่น การจัดให้มีอีเมลกลางของหน่วยงาน เว็บไซต์หน่วยงาน หรือแอปพลิเคชันอื่นใดก็ได้ (มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 20 วรรคหนึ่ง) (คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2564) สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 สามารถ ขจัดอุปสรรคทางข้อกฎหมายในการให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการอำนวย ความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว ความประหยัด และความโปร่งใสตรวจสอบได้ ในการปฏิบัติของหน่วยงานราชการ 2.13.3 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2416 พระราชบัญญัติเทศบาล เป็นกฎหมายที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของเทศบาลในการ ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนภายในเขตเทศบาล ซึ่งการจัดทำบริการสาธารณะมีหลากหลาย รูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการจัดตั้งสถานธนานุบาลซึ่งเป็นโรงรับจำนำที่ให้บริการโดยเทศบาล ซึ่งการ ดำเนินการในการจัดตั้งโรงรับจำนำนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องดำเนินการ โดยมีบทบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 56 (1) บัญญัติให้เทศบาลนคร และตาม พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 53 (8) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2517 บัญญัติให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3