2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

38 ตามพระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 51(9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ เทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 บัญญัติว่าเทศบาลตำบล และตามพระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 51(12) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 บัญญัติอาจทำกิจการเทศ พาณิชย์ในเขตเทศบาล สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2416 มาตรา 56 (1) มาตรา 53 (8) มาตรา 51(9) และมาตรา 51(12) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเทศบาลในการดำเนินการจัดตั้งโรงรับจำนำของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ใน การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนภายในเขตเทศบาล 2.13.4 พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยโรงรับจำนำ ซึ่ง กิจการโรงรับจำนำทุกประเภท ได้แก่ สถานธนานุเคราะห์ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร สถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงรับจำนำของเอกชน จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 กำหนดไว้ว่า "โรงรับจำนำ" หมายความ ว่า สถานที่รับจำนำ ซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระ แต่ละรายมี จำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้ สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจ กันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย "ผู้รับจำนำ" หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตตั้ง โรงรับจำนำ "ทรัพย์จำนำ" หมายความว่า สิ่งของที่รับจำนำ อัตราดอกเบี้ย เป็นไปตามตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 17 กำหนดไว้ ดังนี้ ห้ามมิให้ผู้รับจำนำเรียกหรือรับดอกเบี้ยเกินอัตรา ดังต่อไปนี้ เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท ร้อยละ 2 ต่อเดือน เงินต้นส่วนที่เกิน 2,000 บาท ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน การคิดดอกเบี้ยสำหรับ กรณีไม่ครบเดือน ถ้าไม่เกิน 15 วัน ให้คิดเป็นครึ่งเดือน ถ้าเกิน 15 วันให้คิดเป็นหนึ่งเดือน เศษของ หนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มีการรับจำนำ ให้ออกตั๋วรับจำนำให้แก่ผู้จำนำและติดเลขหมายที่ทรัพย์จำนำให้ตรง กับเลขหมายตั๋วรับจำนำ ตั๋วรับจำนำให้ทำตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง การออกตั๋วรับจำนำให้ ทำตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 20 กรณีที่ต้องให้ไถ่ทรัพย์จำนำ เมื่อมีผู้จำนำนำตั๋วรับจำนำมาขอไถ่ ให้ผู้รับจำนำจดแจ้ง รายการตามมาตรา 18 ทวิ โดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517 และเมื่อให้ไถ่แล้ว ให้นำตั๋วรับจำนำติดไว้ที่ต้นขั้วตั๋วรับจำนำและบันทึกวันเดือนปีที่ไถ่ไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำนั้น และจัด ให้ผู้ไถ่ทรัพย์คืน ลงลายมือชื่อในต้นขั้วตั๋วรับจำนำด้วย ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 23 ตาม พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3