2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

39 หากไม่ยอมให้ไถ่ทรัพย์จำนำเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ คือ ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจว่าทรัพย์จำนำหรือตั๋วรับจำนำเป็นของได้มาโดยการกระทำความผิด หรือมีเหตุ ควรสงสัยว่าทรัพย์จำนำเป็นของได้มาโดยการกระทำความผิด มีเหตุควรสงสัยว่าตั๋วรับจำนำเป็นของ ได้มาโดยการกระทำความผิดเมื่อผู้รับจำนำไม่ยอมให้ไถ่ทรัพย์จำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งต่อพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ทันที และต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตโดยไม่ชักช้า ตาม พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 การทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือนยื่นต่อ เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และปิดประกาศบัญชีนั้นไว้ ณ ที่เปิดเผยที่โรงรับจำนำนั้นตามแบบและ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อได้ปฏิบัติการดังกล่าวถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้บรรดาทรัพย์จำนำที่ ปรากฏตามบัญชีที่ผู้รับจำนำทำขึ้นและประกาศไว้ ซึ่งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมิได้สั่งอายัดไว้ หรือผู้จำนำมิได้ขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันประกาศ หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนำ ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 25 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526 สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เป็นกฎหมายแม่บทของ โรงรับจำนำทุกแห่ง รวมทั้งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย มีข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ โรงรับจำนำต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งขัด 2.13.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะจำนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะจำนำ เป็นกฎหมายว่าด้วย สิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่เป็นคู่สัญญาในการจำนำ โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการจำนำระหว่าง บุคคลที่เป็นคู่สัญญา การจำนำเป็นการประกันหนี้ด้วยทรัพย์รูปแบบหนึ่ง โดยมาตรา 747 ได้ให้ ความหมายของการจำนำไว้ว่า “อันว่าจำนำนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบ สังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้” อานนท์ ศรีบุญโรจน์ (2565) กล่าวไว้ว่า “จำนำคือสัญญา” ดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วย นิติกรรม-สัญญา และหนี้มาใช้ในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์ของสัญญาจำนำด้วย การนำบทบัญญัติลักษณะจำนำมาใช้แก่กรณีโรงรับจำนำ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 757 บัญญัติว่า "บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 13 นี้ ท่านให้ใช้บังคับแก่ สัญญาจำนำที่ทำกับผู้ตั้งโรงรับจำนำโดยอนุญาตรัฐบาลแต่เพียงที่ไม่ขัดกับกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับ ว่าด้วยโรงรับจำนำ" เดือนเด่น นาคสีหราช (2564) อธิบายไว้ว่าจากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 757 ข้างต้นนั้น โรงรับจำนำที่ตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายจะต้องนำ บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาใช้บังคับ เว้นแต่ในพระราชบัญญัติโรงรับ จำนำ ไม่มีบัญญัติไว้จึงนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปใช้บังคับ เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3