2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
40 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องจำนำนั้น ได้กำหนดให้เฉพาะเจ้าของเท่านั้นที่มีสิทธิเอา ทรัพย์สินไปจำนำถ้าบุคคลอื่นเอาทรัพย์สินที่ตนไม่ใช่เจ้าของไปจำนำ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์มีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนโดยไม่จำเป็นจะต้อง ชำระหนี้จำนำ แต่ถ้าเจ้าของปล่อยให้ผู้อื่นแสดงตนว่าเป็นเจ้าของเอาทรัพย์นั้นไปจำนำแก่ผู้รับจำนำที่ รับจำนำโดยสุจริต เจ้าของต้องชำระหนี้จำนำก่อนจึงจะเอาทรัพย์ที่จำนำคืนได้แต่หลักกฎหมายใน พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ผู้จำนำไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนำ เมื่อโรงรับ จำนำรับจำนำของแล้วเจ้าของต้องชำระหนี้จำนำ จึงสามารถนำเอาทรัพย์จำนำนั้นกลับคืนได้ ทั้งนี้ ปัญญา ถนอมรอด, (2565) ได้อธิบายถึงข้อยกเว้นอยู่ 5 ประการ ที่เจ้าของมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน ได้โดยไม่จำเป็นต้องไถ่จำนำ คือ (1) กรณีตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 คือ โรงรับจำนำได้รับจำนำสิ่งของไว้โดยเห็นได้ว่าสิ่งของนั้นเป็นของใช้ในราชการพระราชบัญญัติโรงรับ จำนำ มาตรา 18 "ห้ามมิให้ผู้รับจำนำกระทำการ ดังต่อไปนี้ รับจำนำหรือให้ไถ่ทรัพย์จำนำในระหว่าง เวลาตั้งแต่ 18 นาฬิการับจำนำสิ่งของจากภิกษุสามเณรหรือเด็กอายุต่ำกว่าสิบปี รับจำนำสิ่งของที่เห็น ได้ว่าเป็นของที่ใช้ในราชการหรือสิ่งของที่นำทรัพย์จำนำออกนอกโรงรับจำนำ เว้นแต่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือเพื่อให้พัน ภยันตรายอันร้ายแรงที่ผู้รับจำนำจะป้องกันด้วยวิธีอื่นไม่ได้ ประกอบธุรกิจซึ่งไม่เกี่ยวกับการรับจำนำ หรือการขายทรัพย์จำนำที่หลุดเป็นสิทธิแล้วในบริเวณโรงรับจำนำ" (2) โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์หรือสิ่งของที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานว่าเป็น ของหายตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกประกาศตำหนิ รูปพรรณของหาย ได้แจ้งเรื่องของหายต่อผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำมีหน้าที่ตรวจทรัพย์จำนำหรือสิ่งของที่ จะรับจำนำ ถ้าปรากฏว่ามีตำหนิรูปพรรณตรงหรือคล้ายกับตำหนิรูปพรรณของหาย ให้ผู้รับจำนำส่ง มอบต่อเจ้าพนักงานผู้ซึ่งแจ้งเรื่องของหายนั้นโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่มีการรับจำนำไว้แล้วให้ส่งสำเนา ตั๋วรับจำนำไปด้วย" (3) โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์ไว้ได้รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าทรัพย์จำนำนั้น ได้มาโดยกระทำผิด (4) โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์ไว้โดยไม่ได้จดแจ้งรายการตามมาตรา 18 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 บัญญัติว่า "ในการรับให้ผู้รับจำนำจดแจ้งรายการเกี่ยวกับ บัตรประชาชนของผู้จำนำไว้ให้ชัดแจ้งในต้นขั้วของตั๋วรับจำนำด้วย ในกรณีที่ผู้จำนำไม่ต้องมีบัตรประชาชนตามกฎหมาย ให้จดแจ้งรายการ เกี่ยวกับเอกสารแสดงชื่อที่อยู่ของผู้จำนำแทนบัตรประชาชน" ซึ่งกำหนดให้ผู้รับจำนำต้องจดบัตร ประจำตัวประชาชนของผู้จำนำไว้ในดันชั้วว่าคนที่มาจำนำนั้นเป็นใดรอยู่ที่ไหน ถ้าไม่ได้จดแจ้ง ดังกล่าว เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ (5) โรงรับจำนำได้รับจำนำสิ่งของรายละเกิน 100,000 บาท เช่น คนร้าย ลักแหวนเพชรแล้วนำไปจำนำ ที่โรงรับจำนำเป็นเงิน 120,000 บาท การรับจำนำครั้งนี้โรงรับจำนำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3