2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

41 ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ดังนั้น เจ้าของแหวนมีสิทธิติดตาม เอาคืนได้โดยไม่ต้องไถ่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2533 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้ระบุว่าผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์ที่จำนำหลุด เป็นสิทธิของผู้รับจำนำไม่ได้ แต่โรงรับจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็น สิทธิ ถ้าผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือน และมีการปิดประกาศตามมาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 แล้ว ผลการศึกษาพบว่า โรงรับจำนำทุกแห่งที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะจำนำเท่าที่ไม่ขัดกับ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ 2.13.6 กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 การตรากฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 เป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมายแม่บท คือ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ให้มีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ที่มีความ เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับจำนำในการบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มีสาระสำคัญ คือ ตั๋วรับจำนำให้มีต้นขั้วและปลายขั้ว มีรายการตรงกัน โดยให้ต้นขั้วและ ปลายขั้วซ้อนกัน ฉบับแรกใช้เป็นต้นขั้ว ส่วนฉบับหลังใช้เป็นปลายขั้ว ตามแบบ จ.4 ท้ายกฎกระทรวง นี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2520) ตั๋วรับจำนำให้เย็บเป็นเล่ม เล่มหนึ่งมีร้อยชุด โดยให้มีหมายเลขลำดับเล่มที่และ เลขที่และก่อนนำออกใช้ทุกเล่มต้องมีลายมือชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ ออกใบอนุญาตบนปกในของทุกเล่ม สำหรับตั๋วรับจำนำที่พิมพ์บนกระดาษต่อเนื่องเพื่อใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ไม่ต้องเย็บเป็นเล่ม แต่ต้องมีหมายเลขประจำชุด และก่อนนำออกใช้ต้องมีลายมือชื่อและ ประทับตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตบนตั๋วรับจำนำชุดที่หนึ่งและทุกชุดที่หนึ่ง ร้อย เมื่อนำออกใช้แล้วต้องเก็บรวมต้นขั้วของตั๋วรับจำนำที่มีหมายเลขลำดับเล่มที่และเลขที่เรียงกัน โดยให้เย็บเป็นเล่ม เล่มหนึ่งมีร้อยชุด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2536) เมื่อออกตั๋วรับจำนำ ผู้รับจำนำต้องกรอกรายการทรัพย์จำนำในต้นขั้วและปลายขั้ว ตั๋วรับจำนำ ระบุประเภท ลักษณะ รูปพรรณ ขนาด น้ำหนัก และหรือจำนวนของทรัพย์จำนำโดย ละเอียด และให้ผู้จำนำลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายหัวแม่มือขวาไว้ในต้นขั้วและปลายขั้วตั๋วรับจำนำ ด้วย ถ้าใช้หัวแม่มือขวาไม่ได้ให้ใช้นิ้วมืออื่นแทนได้ แต่ต้องหมายเหตุว่าเป็นลายนิ้วมือใดของมือข้างใด การพิมพ์ลายนิ้วมือ ให้พิมพ์ให้เห็นได้โดยชัดเจนและอาจตรวจสอบได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2507) เมื่อได้มีการปฏิบัติการตามข้อ 3 ครบบริบูรณ์แล้ว ให้ผู้รับจำนำฉีกปลายขั้วตั๋วรับ จำนำมอบให้แก่ผู้จำนำ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2506) บัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือน ให้ทำตามแบบ จ. 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้ บัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือน เก็บไว้ที่โรงรับจำนำ หนึ่งฉบับ ปิดประกาศ ณ ที่เปิดเผยที่โรงรับจำนำในวันเดียวกับที่ยื่นบัญชีหนึ่งฉบับ และยื่นต่อเจ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3