2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

43 2) กำหนดอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดจนการพิจารณา บำเหน็จความชอบแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของสถานธนานุบาลและของสำนักงาน จ.ส.ท. 3) วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือออกคำสั่งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของ สถานธนานุบาล ของสำนักงาน จ.ส.ท. และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติ 4) วางระเบียบการควบคุมตรวจตราสถานธนานุบาลในเรื่องการบัญชี การเงิน พัสดุ และทรัพย์สินอื่น ๆ ควบคุมการจำหน่ายทรัพย์สินของสถานธนานุบาล ตลอดจนกำหนดแบบ บัญชีของสำนักงานและสถานธนานุบาล 5) กำหนดจำนวนอัตราตำแหน่ง และการพัฒนาพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ของสถานธนานุบาล ของสำนักงาน จ.ส.ท. และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.13.8 ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการ จำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 การดำเนินกิจการของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจาก ดำเนินภายใต้กฎหมายแม่บท คือ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 แล้วนั้น อีกทั้งยังต้อง ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ จ.ส.ท. อีกด้วย ซึ่งระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับจำนำในการบริการประชาชน คือ ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์ หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 (สำนักงานคณะกรรมการ จัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2557) โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การรับจำนำ (1.1) วงเงินรับจำนำสิ่งของ ให้ผู้จัดการหรือผู้ช่วยผู้จัดการสถานธนานุบาล รับจำนำทรัพย์รับจำนำได้ภายในวงเงินรับจำนำไม่เกินรายละ 100,000 บาท โดยคณะกรรมการ จ.ส.ท. ในการประชุมครั้งที่ 1/2551 ลงวันที่ 28 มกราคม 2551 ได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับวงเงินรับจำนำสิ่งของ ดังนี้ (1) ให้ผู้จัดการหรือผู้ช่วยผู้จัดการสถาน ธนานุบาลรับจำนำทรัพย์จากผู้จำนำรายเดียวกันในวงเงินรับจำนำทุกรายการ (ตั๋วรับจำนำ 1 ใบหรือ หลายใบ) รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท (2) ในกรณีที่ผู้รับจำนำประสงค์จะจำนำทรัพย์ ซึ่งทำให้ วงเงินรับจำนำของผู้จำนำรายเดียวกันรวมกันแล้วเกินกว่า 100,000 บาท ให้สถานธนานุบาลเสนอขอ ความเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ทั้งนี้ ให้รับจำนำทรัพย์จากผู้รับ จำนำรายเดียวกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท (3) เมื่อมีการรับจำนำทรัพย์จากผู้จำนำทรัพย์รายเดียวกัน เกินกว่า 100,000 บาท ให้สถานธนานุบาลรายงานข้อมูลตามแบบรายงานให้สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ทราบ ภายในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป เพื่อจังหวัดจะได้จัดส่งให้สำนักงาน จ.ส.ท. ดำเนินการตรวจสอบ ต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2551) (2.2) ข้อห้ามและข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับจำนำทรัพย์ คือ ห้ามมิให้ผู้จัดการ สถานธนานุบาลหรือผู้ช่วยผู้จัดการสถานธนานุบาล รับจำนำทรัพย์กรณีดังต่อไปนี้ (1) รับจำนำใน ระหว่างเวลาตั้งแต่ 16.00-08.00 น. (2) รับจำนำสิ่งของจากภิกษุ สามเณร หรือเด็กต่ำกว่าสิบห้าปี (3) รับจำนำสิ่งของที่เห็นได้ว่าเป็นของที่ใช้ในราชการหรือสิ่งของที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้ออก ใบอนุญาต พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกประกาศตำหนิรูปพรรณ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3