2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
46 (5.2) ให้คณะกรรมการจำหน่ายทรัพย์หลุด ปิดประกาศรายการทรัพย์หลุดและ กำหนดวันจำหน่ายไว้ ณ หน้าสถานธนานุบาลพร้อมกับโฆษณาให้ประชาชนทราบก่อนวันจำหน่ายไม่ น้อยกว่าสามวัน (5.3) ทรัพย์หลุดจำนำในงวดใด ให้พยายามจำหน่ายให้หมดสิ้นในงวดนั้นในขณะทำ การประมูลจำหน่าย ให้คณะกรรมการจำหน่ายทรัพย์หลุดควบคุมเจ้าหน้าที่นำทรัพย์หลุดออกประมูล จำหน่ายทุกรายการ ยกเว้นทองคำโดยให้ประชาสัมพันธ์กับผู้สนใจซื้อได้โดยตรงหรือตามที่ประชาชน ผู้ซื้อเรียกร้องให้นำออกประมูล จนกว่าจะครบถ้วนตามบัญชี ส.ธ.10 นอกจากทรัพย์หลุดประเภท เสื้อผ้าให้ประมูลจำหน่ายด้วยวิธีเหมากองได้ ห้ามมิให้ผู้ใดกักกันของดีมีราคาไว้เพื่อซื้อขายกันเองใน ภายหลัง (5.4) ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดจำหน่ายหรือซื้อทรัพย์หลุดจำนำด้วยเงินเชื่อหรือด้วยวิธีผ่อน ส่งโดยเด็ดขาด (สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , 2553) ผลการศึกษาพบว่า สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุด จำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 เนื่องจากเป็นข้อกำหนด เพิ่มเติมให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 2.14 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิมล ชาตะมีนา และคณะ กล่าวว่า โรงรับจำนำของรัฐมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ สามารถนำมาใช้ เป็นเครื่องมือของรัฐในการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนทางการเงินให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ มีต้นทุนต่ำ ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเงื่อนไขน้อยกว่าสถาบันการเงินประเภทอื่น แต่มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อปท. ไม่สามารถ เข้าไปบริหารจัดการสถานธนานุบาลได้อย่างเต็มที่แม้ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการก็ตาม โดยไม่มีอำนาจ บริหารจัดการด้านบุคลากร ที่สำคัญคือไม่สามารถสรรหาและคัดเลือกบุคคลในตำแหน่งผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และพนักงานบัญชี เนื่องจากเป็นอำนาจของ จ.ส.ท. ซึ่งประธาน จ.ส.ท.เป็นผู้สั่งจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งทุกตำแหน่ง และ จ.ส.ท. มีอำนาจในการเลื่อนตำแหน่ง การสับเปลี่ยนตำแหน่ง การพิจารณาโทษ ถอดถอนพนักงานและลูกจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ ความชอบ กำหนดจำนวนอัตราตำแหน่ง และการพัฒนาพนักงาน ในการจัดสรรผลกำไรของสถาน ธนานุบาลของ อปท. ในแต่ละปีจัดแบ่งกำไรเป็นเงินทุนร้อยละ 55 ให้เทศบาลเพื่อบูรณะท้องถิ่น ร้อยละ 30 เป็นโบนัสให้แก่พนักงานสถานธนานุบาลร้อยละ 10 ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ร้อยละ 1 ให้แก่นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลร้อยละ 2.5 และให้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานแก่ จ.ส.ท. ร้อยละ 1.5 เนื่องจากการจัดสรรกำไรให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของ สถาน ธนานุบาลสูงกว่ากิจการโรงรับจำนำประเภทอื่น และทำให้การตีราคาทรัพย์จำนำของสถาน ธนานุบาลของ อปท. มีอัตราต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์ ขณะที่ของเอกชนสามารถให้ได้ ถึงร้อยละ 90 แม้โรงรับจำนำเอกชนจะมีจุดแข็งในเรื่องการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและ สามารถตีราคาทรัพย์จำนำได้สูงกว่า แต่ก็มีจุดอ่อนในเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3