2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

47 อัตราที่สูงสุดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ จึงเป็นประเด็นที่สำคัญและมีความ จำเป็นต้องให้มีกิจการโรงรับจำนำของรัฐอยู่ต่อไป เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนให้เข้าถึงแหล่ง เงินทุนได้ง่าย และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรสนับสนุนให้ อปท. ยังคงดำเนินกิจการสถานธนา นุบาลและพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (วิมล ชาตะมีนา และคณะ, 2554) อมรา มาตยาคุณ และอนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย กล่าวว่า มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ได้ให้ความหมายของคำว่าโรงรับจำนำว่า เป็นสถานที่รับจำนำ ซึ่ง ประกอบการรับจำนำเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่ง ไม่สอดคล้องกับสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ได้แก้ไขครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งบังคับใช้มาแล้วกว่า 30 ปี โดยค่าของเงินมีความแตกต่างกัน มากและไม่สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายโรงรับจำนำของสาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์และสหพันธรัฐมาเลเซีย (วิมล ชาตะมีนา, 2554) จะพบว่า มีการกำหนดวงเงินการรับจำนำ ในรูปแบบร้อยละของราคาทรัพย์ที่แท้จริง เป็นการกำหนดขั้นต่ำของวงเงินในการรับจำนำซึ่งเป็นการ รับประกันได้ว่าผู้นำทรัพย์มาจำนำจะไม่ถูกกดราคาในการรับจำนำจนเกินความเป็นจริง จึงควร ปรับปรุงกฎหมายโดยการนำรูปแบบร้อยละมาปรับใช้ในการกำหนดวงเงินในการรับจำนำ โดยกำหนด วงเงินไม่ต่ำกว่า ร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์จำนำ ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน ทั้งยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันด้วย และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 กำหนดว่า ให้ผู้รับจำนำทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาด ส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือน ยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และปิดประกาศบัญชีนั้นไว้ ณ ที่ เปิดเผย ที่โรงรับจำนำนั้น และเมื่อผู้จำนำมิได้ขอไถ่ถอนภายในเวลากำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศ ให้ทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิ์แก่ผู้รับจำนำ การกำหนดให้ผู้จำนำมีสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์จำนำภายใน เวลา 4 เดือน 30 วันอาจมีระยะเวลาที่น้อยเกินไปในการช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบปัญหา ทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายโรงรับจำนำของสาธารณรัฐมาเลเซีย ซึ่งกำหนดระยะเวลา การ กู้ยืมอยู่ที่ 6 เดือน และในสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา กำหนดให้ไถ่ทรัพย์จำนำ คืนได้ภายใน 12 เดือน (วิมล ชาตะมีนา, 2554) ดังนั้น จึงควรปรับปรุงกฎหมายโดยการขยาย ระยะเวลาการไถ่ถอนทรัพย์จำนำเป็นระยะเวลา 6 เดือน 30 วัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่กำลัง ประสบปัญหาทางการเงิน และสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน (อมรา มาตยาคุณ และ อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย, 2565) มัลลิกานต์ นกเขียว กล่าวว่า พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ได้ให้ความหมาย ของคำว่า “โรงรับจำนำ” ไว้คือ “โรงรับจำนำ” หมายความว่า สถานที่รับจำนำ ซึ่งประกอบการรับ จำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระ แต่ละราย มีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท และ หมายความรวมตลอดถึงการรับ หรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ แต่ละ รายมีจำนวนเงิน ไม่เกินหนึ่งแสนบาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจตรงกัน หรือโดยปริยายว่าจะไถ่ถอน คืนในภายหลังด้วย จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้ เงินกู้นั้น พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ได้จำกัดจำนวนเงินแต่ละรายไว้ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งกรณีดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ได้ประกาศ ใช้เมื่อ พ.ศ.2505 และมีการแก้ไขจำนวนเงินดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. 2534 ซึ่งจำนวนเงินหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3