2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

49 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี วัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลักในเรื่องการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานธนานุบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหากฎหมายประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศที่มีผลต่อการ ดำเนินงานของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คำตอบดังกล่าวนี้ ย่อมจะนำมาจาก การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่กำหนดไว้เพื่อ นำไปสู่การพัฒนากฎหมายที่ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังนั้น การเก็บรวมรวม ข้อมูลและการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงกำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัย ภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการ ใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่ เกี่ยวกับการดำเนินงานสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนผู้มาใช้บริการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ต้องใช้ ในการวิเคราะห์ มีดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการ ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2416 พระราชบัญญัติโรง รับจำนำ พ .ศ.2505 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎกระทรวงที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงาน กิจการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วย การรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 กฎหมายต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะ การทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้ง รายงานวิจัย ตำรา แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐม ภูมิ (Primary Data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วย สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำมาวิเคราะห์ในบทที่ 4 แต่ละประเด็นต่อไป 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อระดมความคิดเห็น จากเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายว่าสถานธนานุบาลขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น จึงต้องมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3