2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

51 กลุ่มที่ 3 กลุ่มภาคประชาชน 1) ผู้จำนำทรัพย์สินกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน 2) ผู้ที่ทรัพย์หลุดจำนำจากสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน 3) ผู้เข้าร่วมในการประมูลการขายทอดตลาดทรัพย์หลุดจำนำสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน สำหรับอาสาสมัครที่ปฏิเสธการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย หรือสมัครใจต่อมาตัดสินใจถอน ตัวในขณะอยู่ในโครงการ รวมถึงคัดออกผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์การทำงานไม่ถึง 2 ปี ย่อมถือว่า เป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครโครงการวิจัย นอกจากนี้จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ มุ่ง การตีความเอกสารกฎหมายเป็นหลัก ส่วนผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เป็นลำดับรอง ข้อมูลที่ได้มาจะเก็บไว้ เป็นความลับไม่เปิดเผยตัวตน โดยผู้วิจัยจะนำความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลมาถอดรหัส จำแนกและ สังเคราะห์ โดยนำมาประกอบกับเอกสารวิชาการและกฎหมาย เพื่อตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์อันจะ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายต่อไป 3.2.2 ประเด็นสัมภาษณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยผู้วิจัย ดำเนินการสร้างแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายในประเทศไทยและกฎหมาย ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมากำหนดเป็นกรอบในการสร้างแบบสัมภาษณ์ โดยมีลักษณะเป็นข้อ คำถามที่ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดคำถามเป็น 2 ชุด โดยแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ส่วนข้อมูลทั่วไป 2) ประเด็นคำถาม 3) ข้อเสนอแนะหรือปัญหาอื่น มี รายละเอียด ดังนี้ ชุดที่ 1 กลุ่มหน่วยงานภาครัฐฝ่ายบริหาร และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐฝ่าย ปฏิบัติการ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป - วันเวลา และสถานที่สัมภาษณ์ - ตำแหน่งหน้าที่ ส่วนที่ 2 ประเด็นสัมภาษณ์ 1. ท่านคิดว่า เทศบาลในฐานะเจ้าของสถานธนานุบาล ควรมีอำนาจใน กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ และท่านคิดว่า อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับประชาชนควรใช้ อัตราเท่าใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3